วันพุธที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2557

หน่วยที่ 2 ส่วนประกอบภายในตัวเครื่อง

สาระสำคัญ

          ภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย อุปกรณ์ต่าง ๆ มากมาย ได้แก่ กล่องแหล่งจ่ายไฟ, แผ่นเมนบอร์ด, ตัวขับแผ่นดิสก์, ตัวขับแผ่นซีดีหรือดีวีดี และอุปกรณ์ซึ่งติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ด ได้แก่ ซีพียู แผงหน่วยความจำ และการ์ดควบคุมต่าง ๆ โดยทุกส่วนเป็นหัวใจสำคัญในการทำงานของเครื่อง จึงควรศึกษารายละเอียดและแยกความแตกต่าง เพื่อให้สามารถเลือกซื้อและใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์


เรื่องที่จะศึกษา

  • ส่วนประกอบภายในตัวเครื่อง
  • ส่วนประกอบต่าง ๆ บนแผ่นเมนบอร์ด
  • ช่วงต่อสายบนแผ่นเมนบอร์ด
  • ช่วงต่อด้านหลังของเครื่อง


จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. สามารถบอก ส่วนประกอบภายในตัวเครื่องได้ถูกต้อง
  2. สามารถบอกชื่อ และให้รายละเอียดต่าง ๆ ของส่วนประกอบบนแผ่นเมนบอร์ดได้
  3. สามารถบอกรายละเอียดของช่องต่อต่าง ๆ บนแผ่นเมนบอร์ดได้
  4. สามารถบอกรายละเอียดของช่องต่อด้านหลังของเครื่องได้
  5. สร้างความสามัคคี และฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม

1. ส่วนประกอบภายในคอมพิวเตอร์


ภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์จะปรพกอบด้วย อุปกรณ์หลักต่าง ๆ ดังนี้
  1. กล่องแหล่งจ่ายไฟ
  2. แผ่นเมนบอร์ด
  3. ตัวขับแผ่นดิสก์
  4. ฮาร์ดดิสก์
  5. ตัวขับแผ่นซีดี หรือ ดีวีดี


แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply) 
          แหล่งจ่ายไฟมีหน้ามีหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ภายในของคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเลย  ซึ่งก้มีหลายแบหลายขนาดให้เลือกในปัจจุบัน  ทั้ง 300 w 500w หรืออื่นอีกมากมาย  โดยจะนำกระแสไฟฟ้าที่จ่ายตามบ้าน  220 โวลต์  ก็เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งที่เราต้องเอาใจใส่ด้วย  เพราะถ้าเกิดแหล่งจ่ายไฟไม่ดีก็เหมือนกองทัพขาดเสบียง  ไม่พอกอินไม่พอใช้และแล้วก็หมดแรงสู้คนอื่นไม่ได้  เหมือนกันครับ  ถ้าแหล่งจ่ายไฟฟ้าไม่เพียงพอ  ก็อาจจะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณน็อกไปเลย



เมนบอร์ด (Mainboard)          เมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญรองมาจากซีพียู เมนบอร์ดทำหน้าที่ควบคุม ดูแลและจัดการๆ ทำงานของ อุปกรณ์ชนิดต่างๆ แทบทั้งหมดในเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ซีพียู ไปจนถึงหน่วยความจำแคช หน่วยความจำหลัก ฮาร์ดดิกส์ ระบบบัส บนเมนบอร์ดประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ มากมาย  เมนบอร์ดที่ใช้งานในปัจจุบันนั้นส่วนใหญ่เป็นแบบ ATX เกือบทั้งหมดแล้ว  เทคโนโลยีของเมนบอร์ดเองก็ได้มีการพัฒนาไปมากเช่นกัน  ซึ่งมีเทคโนโลยีเข้ามาในการเพิมประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น  มีสีสันที่สวยงามโดยเฉพาะคนที่ชอบแต่งเครื่องของตัวเองจะเลือกสีสันที่มีความสวยงาม



ตัวขับแผ่นดิสก์ (Ploppy Disk Drive)          ใช้อ่าน/เขียนแผ่นฟล๊อปปี้ดิสก์ แต่มีความจุต่ำและเสียหายง่าย ปัจจุบันไม่ได้รับความนิยมแล้ว

ฮาร์ดดิส (Hard Disk)
          เป็นที่เก็บข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่ง Harddisk นั้นมีความจุที่แตกต่างกันไป โดยปัจจุบัน ความจุของ Harddiskมีความจุถึงระดับ terabyte(1,000 GB)กันแล้ว ซึ่ง ความแตกต่างของ ฮาร์ดิส แต่ละตัวในคือ ความจุ ความเร็วรอบในการหมุนของจานแม่เหล็กที่อยู่ใน ฮาร์ดิส หน่วยความจำ Buffer

image harddisk


     ระบบของ Hard disk ต่างจากแผ่น Diskette โดยจะมีจำนวนหน้าในการเก็บข้อมูลมากกว่า 2 หน้า ในการเก็บข้อมูลของ Hard Disk นั้นก็ไม่ต่างกับการเก็บข้อมูลลงบน Diskette ทั่วไปมากนัก Hard Disk ส่วนใหญ่ประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็กมากกว่า 2แผ่นเรียงกันอยู่บนแกน Spindle
    ทำให้แผ่นแม่เหล็กหมุนไปพร้อมๆกัน Hard Disk ใช้หัวอ่านเพียงหัวเดียวในการทำงาน ทั้งอ่านและเขียนข้อมูล ในการเขียนข้อมูลหัวอ่านจะได้รับกระแสไฟฟ้าผ่านเข้าสู่คอยล์ของหัวอ่าน เพื่อรับข้อมูล เป็นการแปลงความหนาแน่นของสารแม่เหล็กที่เคลือบอยู่บน Disk ออกมาให้กับ CPU เพื่อทำการประมวลผล ส่วนการเก็บข้อมูล จะเก็บอยู่ในรูปแบบของสัญญาณดิจิตอล โดยเก็บเป็นเลขฐาน 2 คือ 0 และ 1 การเก็บข้อมูลจะเริ่ม

ตัวขับแผ่นซีดี หรือ ดีวีดี (CD ROM & DVD ROM)          ไดรว์ CD/DVD เป็นเครื่องอ่านข้อมูลชนิดหนึ่งซึ่งใช้แสงเลเซอร์ในการอ่านข้อมูล  โดยเครื่องนี้ในปัจจุบันสามารถทั้งอ่านและยังเขียนได้ด้วย  ทำให้เกิดความสะดวกในการใช้งานมากยิ่งขึ้น  และสื่อ CD/DVD ในปัจจุบันนั้นมีมากมายจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ ไดรว์ CD/DVD โดยความเร็วในปัจจุบันถึง 54x DVD จะมีความเร็วในการอ่านอยู่ที่ 16 x  ซึ่งมีทั้งแบบการเชื่อมต่อจากภายนอกและการเชื่อมต่อจากภายใน จากอดีตฟลอปปี้ดิสก์ขนาด 3.5นิ้วหนึ่งแผ่นมี ความจุเพียง 1.44 เมกะไบต์ แต่สำหรับแผ่นซีดีรอมขนาด 5.25 นิ้วหนึ่งแผ่นมีความจุมากถึง 650 เมกะไบต์ หรือที่เป็น DVD สามารถรุได้สูงสุด ถึง 30 ในแบบ  Blu-ray Discซีดีรอมนอก จากจะมีความจุมากแล้วยังช่วยให้มีความเร็วในการติดตั้งโปรแกรมด้วยเพราะคุณไม่ต้องเสียเวลาในการสลับแผ่นเหมือน ฟลอปปี้ดิสก์ และยังมีความเร็วในการอ่านข้อมูลเร็วกว่าแผ่นดิสก์ทำให้มีการนำเอาซีดีรอมมาใช้มากขึ้น


 

ไดรว์ CD/DVD แบบเชื่อมต่อภายใน


ไดรว์ CD/DVD แบบเชื่อมต่อภายนอก

ส่วนประกอบด้วยหน้าของ ไดรว์ CD/DVD

ส่วนประกอบด้วยหลังของ ไดรว์ CD/DVD



2. ส่วนประกอบต่าง ๆ บนแผ่นเมนบอร์ด

เมนบอร์ด (Mainboard) เป็นโครงสร้างหลักของแผนวงจรหลักภายในคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เช่น ซีพียู แรม ซิปเซ็ต ฮาร์ดดิส ฯลฯ เข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถทำหน้าที่ร่วมกันได้อย่างเป็นระบบ บนเมนบอร์ดประกอบไปด้วยแผนวงจรและอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ มากมาย รวมไปถึงชิ้นส่วนอุปกรณ์ทีสำคัญอย่าง ซิปเซ็ต ถือเป็นหัวใจหลักของระบบที่ใช้ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ บนเมนบอร์ด ดังนั้นเพื่อให้เราทราบถึงข้อจำกัดและขีดความสามารถของเมนบอร์ดรุ่นต่างๆ เราจึงจำเป็นต้องมาทำความรู้จักและทำความเข้าใจในเบื้องต้น เกี่ยวกับส่วนประกอบหลักๆ ที่สำคัญอย่างนั้นเสียก่อน โดยรายละเอียดของส่วนประกอบต่างๆ มีดังนี้

AGP Slot (Accelerator Graphic Port)
เป็นสล็อตที่มีไว้สำหรับติดตั้งการ์ดแสดงผล หรือการ์ดจอเท่านั้น สล็อตเอจีพีจะมีสีน้ำตาล ตำแหน่งจะอยู่ด้านบนของสล็อต พีซีไอ และอยู่ใกล้กับตำแหน่งของซ็อคเก็ตที่ติดตั้งซีพียู เหตุผลที่ใช้ติดตั้งเฉพาะการ์ดแสดงผล ก็เนื่องจากระบบบัสแบบ PCI ที่ใช้กันอยู่เดิมนั้น ไม่สามารถตอบสนองการใช้งาน ที่ต้องการความรวดเร็วในการแสดงผลสูงๆ อย่างเช่น เกมสามมิติ โปรแกรมกราฟิกประเภทสามมิติ ออกแบบ บัสแบบเอจีพีหรือสล็อตแบบเอจีพีรุ่นใหม่จะมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงขึ้น ซึ่งมีข้อสังเกตๆ ง่ายคือ 2X 4X และล่าสุด 8X ตัวเลขยิ่งสูงมากยิ่งเร็วขึ้น



ATX Power Connector

ขั้วต่อสายไฟจากพาวเวอร์ซัพพลายเข้ากับเมนบอร์ด ซึ่งเป็นขั้วต่อแบบ ATX โดยที่พาวเวอร์ซัพพลาย จะมีสายไฟหนึ่งชุดเอาไว้ต่อเข้ากับเมนบอร์ด และด้านหนึ่งของขั้วต่อจะมีสลักล็อกสายไฟ ป้องกันไม่ให้สายไฟ หลุดจากเมนบอร์ดได้ง่าย

BIOS (Basic Input Output )

เป็น CHIP IC ชนิดหนึ่งที่อยู่บนเมนบอร์ด ภายในจะมีโปรแกรมที่ใช้ตรวจสอบค้นหาอุปกรณ์ประเภทฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม ดิสก์ไดร์ฟ ที่ติดตั้งเข้าไป ทุกครั้งที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมที่อยู่ในไบออส จะเริ่มตรวจสอบการทำงานของ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เช่น การทำงานของเมนบอร์ด ฮาร์ดดิสก์ แรม การ์ดจอ คีย์บอร์ด ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่า Power on Self Test (Post) ในกรณีที่มีอุปกรณ์เสียหรือผิดปกติก็จะรายงานให้ทราบ นอกจากนี้ไบออสยังมีคำสั่งสั่งให้เครื่อง คอมพิวเตอร์บูตเข้าสู่วินโดวส์ หรือระบบปฏิบัติการอื่น ที่ติดตั้งเอาไว้ด้วย ในรูปนี้เป็นไบออสของ AMI ซึ่งไบออสมีหลายยี่ห้อด้วยกัน เช่น AWARD, PHEONIX, COMPAQ, IBM ซึ่งจะมี ความแตกต่างกันบ้างในเรื่องของวิธีการเข้าไปตั้งค่าการทำงานของไบออส รวมทั้งรูปแบบเมนูของไบออส ส่วนเมนบอร์ด ที่ใช้จะมีไบออสยี่ห้อไหน และตำแหน่งติดตั้งอยู่ที่ไหนบนเมนบอร์ดสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากคู่มือของเมนบอร์ด
CMOS Battery

แบตเตอรี่เบอร์ CR2032 เป็นแบตเตอรี่ที่จ่ายกระแสไฟให้กับ CMOS เพื่อเก็บข้อมูลในไบออส เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม วันเวลา ถ้าหากแบตเตอรี่หมดอายุจะทำให้ข้อมูลในไบออสหายไป ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามาร ตรวจสอบ ได้ว่ามีฮาร์ดดิสก์ มีซีดีรอมต่อพ่วงอยู่หรือเปล่า ทำให้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้ แบตเตอรี่จะมีอายุการใช้งานประมาณสองหรือสามปี หากต้องการเปลี่ยนก็หาซื้อได้ตามร้านนาฬิกาหรือร้านถ่ายรูป

CPU Socket
ใช้สำหรับติดตั้งซีพียูเข้ากับเมนบอร์ด เมนบอร์ดที่ใช้กับซีพียูของอินเทลคือ Pentium 4 และ Celeron จะเรียกซ็อคเก็ตว่า SOCKET 478 ส่วนเมนบอร์ดสำหรับซีพียู AMD นั้นจะมีซ็อคเก็ตแบบ SOCKET 462 หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า SOCKET A จุดสังเกตว่าเมนบอร์ดเป็นซ็อคเก็ตแบบใดนั้นก็ดูจากชื่อที่พิมพ์ไว้บนซ็อคเก็ต ส่วนความแตกต่างอีกอย่างหนึ่งก็คือรอยมาร์ค ที่มุมของซ็อคเก็ต ถ้าเป็นซ็อคเก็น 478 จะมีรอยมาร์คอยู่ที่มุมหนึ่งด้าน ส่วนซ็อคเก็ต 462 จะมีรอยมาร์คที่มุมสองด้าน โดยรอยมาร์คจะตรงกับตำแหน่งของซีพียู เพื่อให้คุณติดตั้งซีพียูเข้ากับซ็อคเก็ตได้อย่างถูกต้อง


Floppy Disk Connector
คอนเน็คเตอร์สำหรับต่อสายแพเข้ากับ Disk Drive ซึ่งเมนบอร์ดจะมีคอนเน็คเตอร์ไว้ให้หนึ่งช่อง ซึ่งก็เพียงพอต่อการ ใช้งาน เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะติดตั้งดิสก์ไดร์ฟเพียงแค่หนึ่งไดร์ฟเท่านั้น จุดสังเกตก็คือจะมีข้อความว่า FLOPPY หรือเมนบอร์ดบางรุ่นจะเป็นตัวย่อว่า FDD พิมพ์กำกับอยู่ ส่วนที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือที่ช่องคอนเน็คเตอร์จะมี Pin หรือเข็มอยู่ 33 อัน โดยด้านหนึ่งจะมีคำว่า PIN 1 พิมพ์กำกับอยู่ด้วย เมื่อต้องการต่อสายแพเข้ากับคอนเน็คเตอร์ จะต้องเอาด้านที่มีสีแดงหรือสีน้ำเงินมาไว้ที่ตำแหน่ง PIN 1


IDE Connector
เป็นคอนเน็คเตอร์ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อสายแพกับฮาร์ดดิสก์แบบ IDE รวมถึงอุปกรณ์จำพวกไดร์ฟอ่านเขียนข้อมูล เช่น ซีดีรอม ดีวีดี ซิฟไดร์ฟ โดยเมนบอร์ดจะมีคอนเน็คเตอร์ IDE อยู่สองชุดด้วยกัน เรียกว่า IDE 1 กับ IDE 2 แต่ละคอนเน็คเตอร์ จะรองรับอุปกรณ์ได้สองชิ้น ซึ่งหมายถึงว่าคุณจะต่อฮาร์ดดิสก์รวมทั้งซีดีรอมได้สูงสุดแค่สี่ชิ้น ซึ่งอาจจะเป็นฮาร์ดิสก์ สองตัวกับไดร์ฟ CD-RW และไดร์ฟ DVD อีกอย่างละหนึ่ง เช่นเดียวกันกับ FDD Connector ก็คือจะมีตัวอักษรพิมพ์กำกับว่าด้านใดคือ PIN 1 เพื่อให้ต่อสายแพเข้าไปอย่างถูกต้อง แต่ IDE Connector จะมีจำนวนพินมากกว่าคือ 39 พิน (ในรูปคือที่เห็นเป็นสีแดงกับสีขาว)



PCI Slots (Peripherals component interconnect)
สล็อตพีซีไอ เป็นช่องที่เอาไว้สำหรับติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม เช่น ติดตั้งการ์ด SCSI การ์ดเสียง การ์ดเน็ตเวิร์ค โมเด็มแบบ Internal เมนบอร์ดโดยส่วนใหญ่จะมีสล็อตพีซีไอเป็นสีขาวครีม แต่ก็มีเมนบอร์ดรุ่นใหม่บางรุ่นที่เพิ่มสล็อตพีซีไอ โดยใช้สีแตกต่าง เช่น สีน้ำเงิน เพื่อใช้ติดตั้งการ์ดที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ สล็อตแบบพีซีไอนั้นถูกออกแบบมาแทนสล็อตแบบ VL ซึ่งทำงานได้ช้า การติดตั้งอุปกรณ์ทำได้ยาก เนื่องจากต้องเซ็ตจัมเปอร์ แต่พีซีไอนั้นจะเป็นระบบ Plug and Play ที่ติดตั้งอุปกรณ์ได้ง่ายกว่า อุปกรณ์บางอย่าง เช่น การ์ดเสียง เมื่อติดตั้งแล้วโอเอส จะรู้จักทันทีหรือเพียงแค่ลงไดรเวอร์เพิ่มเติมเท่านั้น อนึ่งสล็อตแบบพีซีไอนั้นเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า PCI Bus ซึ่งก็หมายถึง เส้นทางที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลระหว่างเมนบอร์ดกับอุปกรณ์ต่อพ่วง โดยบัสแบบจะทำงานในระบบ 32 บิต


RAM Sockets
เป็นช่องที่ใช้สำหรับติดตั้งแรมเข้าไป เมนบอร์ดแต่ละรุ่นจะมีช่องสำหรับติดตั้งแรมไม่เท่ากัน บางรุ่นอาจจะมีแค่สอง บางรุ่นมีสาม บางรุ่นมีสี่ จำนวนช่องถ้ามีเยอะก็จะทำให้คุณเพิ่มแรมได้มากขึ้น ซ็อคเก็ตที่ใช้ติดตั้งแรมยังแบ่งออกไปตามชนิดของแรมด้วย ถ้าเป็นเมนบอร์ดที่ใช้แรมแบบ DDR จะมีรอยมาร์ค อยู่ตรงกลางหนึ่งช่อง ซึ่งจะตรงกับตำแหน่งรอยมาร์คที่แรม



System Panel Connector

สิ่งที่คุณจะสังเกตุเห็นก็คือกลุ่มเข็มที่โผล่ออกมาเหมือนเสาเข็ม สำหรับ System Panel นั้นเป็นจุดที่ใช้ต่อสายสวิทช์ ปิดเปิดเครื่อง (Power Switch) สายไฟปุ่มรีเซ็ท (Reset Switch) ไฟแสดงการทำงานของฮาร์ดดิสก์ (HDD LED) ลำโพงภายในตัวเครื่อง (Speaker) และสวิทช์ล็อกการทำงานของคีย์บอร์ด (Keyboard Lock) โดยสวิทช์หรือ หลายไฟเหล่านี้จะติดอยู่กับเคสเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าคุณไม่ต่อสายไฟจากเคสเข้ากับ System Panel สวิทช์เปิดเครื่อง หรือไฟแสดงการทำงานของฮาร์ดดิสก์ก็จะไม่ติด
PS/2 Mouse, PS/2 Keyboard Port
เป็นพอร์ต์ที่ใช้สำหรับต่อสายเม้าส์กับสายคีย์บอร์ดเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเรียกว่าพีเอสทูเม้าส์หรือพีเอสทูคีย์บอร์ด ซึ่งพอร์ตจะมีรูกลมหกรู แล้วก็รูสี่เหลี่ยมหนึ่งรู ซึ่งปลายสายคีย์บอร์ดหรือเม้าส์ก็จะมีเข็มที่ตรงกับตำแหน่งของรูที่พอร์ตด้วย การเสียบสายเม้าส์และคีย์บอร์ดเข้าไป ต้องระวังให้เข็มตรงกับรู สำหรับพอร์ตเม้าส์และคีย์บอร์ดนั้นจะใช้ Color Key แสดงเอาไว้ สีเขียวคือต่อสายเม้าส์ ส่วนสีน้ำเงินต่อสายคีย์บอร์ด นอกจากนี้ยังมีจุดสังเกตุอีกประการหนึ่งก็คือ เมื่อประกอบเมนบอร์ดเข้ากับเคส ที่เคสจะมีสัญลักษณ์รูปเม้าส์กับรูปคีย์บอร์ด ติดอยู่ เพื่อให้ต่อสายเม้าส์และคีย์บอร์ดได้ถูกต้อง

USB Port (Universal Serial Bus)
พอร์ตสำหรับต่อพ่วงกับอุปกรณ์ที่มีพอร์ตแบบยูเอสบี เช่น พรินเตอร์ สแกนเนอร์ กล้องดิจิตอล ซีดีรอมไดร์ฟ ซิพไดร์ฟ เป็นต้น เมนบอร์ดรุ่นใหม่จะมีพอร์ตยูเอสบีเพิ่มมาอีกเรียกว่าพอร์ต USB 2.0 ซึ่งรับส่งข้อมูลได้เร็วกว่าเดิม เมื่อคุณต้องซื้ออุปกรณ์ต่อพ่วง ควรตรวจสอบด้วยว่าอุปกรณ์นั้นเชื่อมต่อกับพอร์ตยูเอสบีรุ่นเก่า หรือว่าต้องใช้ร่วมกับพอร์ต ยูเอสบี 2.0 เพื่อความมั่นใจว่าอุปกรณ์ที่ซื้อมานั้นจะทำงานได้อย่างไม่มีปัญหาใดๆ
Parallel Port

พอร์ตพาราเรล เป็นพอร์ตแบบตัวเมียมีรู 25 รู สำหรับต่อสายพรินเตอร์หรือสแกนเนอร์ที่มีพอร์ตแบบพาราเรล ซึ่งส่วนใหญ่ จะใช้ต่อกับเครื่องพรินเตอร์มากกว่า ซึ่งบางคนจะเรียกว่าพรินเตอร์พอร์ต โดยส่วนใหญ่พอร์ตพาราเรลจะมีกับเครื่อง พรินเตอร์รุ่นเก่า หรือในเครื่องพรินเตอร์ระดับกลางๆ ขึ้นไป




Serial Port
พอร์ตแบบตัวผู้ที่มีขาสัญญาณอยู่ 9 ขา เรียกว่าคอมพอร์ต (COM Port) เป็นพอร์ตที่ใช้สำหรับต่อโมเด็ม เม้าส์ หรือจอยสติ๊ก ปัจจุบันอุปกรณ์ที่ใช้พอร์ตนี้แทบไม่มีให้เห็น เนื่องจากหันไปใช้พอร์ตแบบ USB เป็นส่วนใหญ่

Video Port
พอร์ตสำหรับต่อสายสัญญาณภาพ กับจอคอมพิวเตอร์ ลักษณะของพอร์ตจะเป็นพอร์ตแบบตัวเมียมีรู 15 รู สำหรับพอร์ตนี้ จะมีอยู่เฉพาะในเมนบอร์ดรุ่นที่รวมเอาการ์ดแสดงผลเข้าไปกับเมนบอร์ดด้วย (VGA Onboard)



IEEE1394 Port

เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า FireWire (บริษัทโซนี่เรียกว่า I-Link) เป็นพอร์ตที่ใช้สำหรับอุปกรณ์ต่อพ่วงอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งก็มีในเมนบอร์ดบางรุ่น พอร์ตนี้จะใช้สำหรับต่อพ่วงกับ สแกนเนอร์ กล้องดิจิตอลระดับไฮเอนด์ กล้องดิจิตอลวิดีโอ ฮาร์ดดิสก์ที่มีพอร์ตแบบ Firewire โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้ต่อกับ กล้องดิจิตอลวิดีโอ เนื่องจากการที่ สามารถควบคุมการทำงานของกล้องผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง


3. ช่องต่อสายบนแผ่นเมนบอร์ด
4. ช่องต่อด้านหลังของเครื่อง


แบบทดสอบ



ข้อ 1.อุปกรณ์ในข้อใดที่เปรียบได้กับสมองของคอมพิวเตอร์
    ก. CPU
    ข. RAM
    ค. ROM
    ง. HardDisk

ข้อ 2.ข้อดีของอุปกรณ์ที่ติดตั้งมากับเมนบอร์ด (Onboard) คือข้อใด
    ก. การรับส่งข้อมูลได้เร็วกว่า
    ข. ราคาอุปกรณ์และเมนบอร์ดจะถูกกว่า
    ค. การทำงานของคอมพิวเตอร์จะมีประสิทธิภาพมากกว่
    ง. การประกอบคอมพิวเตอร์จะง่ายกว่า

ข้อ 3.BIOS คืออุปกรณ์ในรูป มีหน้าที่ทำอะไร 
    ก. เก็บข้อมูลจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์
    ข. เก็บข้อมูลจากที่โรงงานผลิต
    ค. เก็บข้อมูลชนิดที่เป็นรูปภาพ
    ง. เก็บข้อมูลที่เป็นเสียง

ข้อ 4.ขั้วต่อด้านหลังเครื่อง ขั้วต่อคู่ใดที่มีลักษณะใกล้เคียงกันมากที่สุด
    ก. ขั้วต่อเครื่องพิมพ์ กับขั้วต่อจอภาพ
    ข. ขั้วต่อ USB กับขั้วต่ออนุกรม
    ค. ขั้วต่อแป้นพิมพ์ กับขั้วต่อจอภาพ
    ง. ขั้วต่อแป้นพิมพ์ กับขั้วต่อเม้าส์

ข้อ 5."จะคอยทำงานร่วมกับซีพียูตลอดเวลา  โดยทำหน้าที่เหมือนสมุดจดบันทึกเล่มใหญ่"  ที่กล่าวมา  หมายถึงอุปกรณ์ในข้อใด
    ก. หน่วยความจำสำรอง
    ข. หน่วยความจำชั่วคราว
    ค. หน่วยความจำถาวร
    ง. หน่วยความจำภายนอก
ข้อ 6.ข้อใดคือหน้าที่สำคัญที่สุดของเพาเวอร์ซัพพลาย
    ก. ระบายความร้อนให้คอมพิวเตอร์
    ข. ทำให้กระแสไฟฟ้าเดินเรียบ  ไม่มีการกระชากของกระแสไฟฟ้า
    ค. แปลงไฟฟ้าตามบ้านเรือนให้เป็นกระแสตรง
    ง. ป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับซีพียู

ข้อ 7.ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูล  จัดอยู่ในประเภทใด
    ก. หน่วยความจำชั่วคราว
    ข. หน่วยความจำถาวร
    ค. หน่วยความจำหลัก
    ง. หน่วยความจำรอง

ข้อ 8.การแพร่กระจายของไวรัส หนอน โทรจัน  เกิดขึ้นจากสาเหตุในข้อใดมากที่สุด
    ก. การใช้ฮาร์ดดิสก์
    ข. การใช้แฮนดี้ไดรว์
    ค. การใช้อินเทอร์เน็ต
    ง. การใช้โปรแกรมที่ผิดกฎหมาย

ข้อ 9. เพราะเหตุใดแฟลชไดรว์หรือแฮนดี้ไดรว์จึงได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน
    ก. ความสะดวกในการใช้ และราคาถูก
    ข. เก็บข้อมูลได้มากกว่าฮาร์ดดิสก์
    ค. ข้อมูลจะปลอดภัย
    ง. รูปแบบทันสมัย และใช้ฟังเพลงได้

ข้อ 10. ข้อความในข้อใดกล่าวได้ถูกต้องที่สุด
    ก. CD-ROM บันทึกข้อมูลได้มากกว่า DVD-ROM
    ข. CD-ROM บันทึกข้อมูลได้หลายรูปแบบมากกว่า DVD-ROM
    ค. DVD-ROM บันทึกข้อมูลได้มากกว่า CD-ROM
    ง. DVD-ROM บันทึกข้อมูลได้หลายรูปแบบมากกว่า CD-ROM

ข้อ 11. หน้าที่สำคัญที่สุดของการ์ดจอ (VGA Card)  คือข้อใด     
    ก. ทำให้ภาพปรากฎบนจอภาพ
    ข. ทำให้ภาพและเสียงปรากฎไปพร้อมๆ กัน
    ค. ทำให้ภาพมีสีสันใกล้เคียงกับความจริงมากที่สุด
    ง. ทำให้เห็นภาพที่เป็นภาพยนตร์ได้ชัดเจน

ข้อ 12. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับการ์ดจอ (VGA Card)
    ก. การ์ดจอที่มีราคาแพงๆ  จะทำให้คุณภาพของภาพดีด้วยเสมอ
    ข. การ์ดจอทุกยี่ห้อจะถูกติดตั้งมาบนเมนบอร์ดแล้ว
    ค. ผู้ที่ชอบเล่นเกม (Gamer)  จะชอบติดตั้งการ์ดจอคุณภาพดีเสมอ
    ง. การ์ดจอจะติดตั้งบนสล๊อตแบบ PCI

ข้อ 13.พอร์ตที่ใช้เสียบแป้นพิมพ์กับเม้าส์มีลักษณะเป็นอย่างไร
    ก. มีลักษณะแตกต่างกันตามชนิดของอุปกรณ์
    ข. มีลักษณะเหมือนกัน  เพราะเป็นอุปกรณ์รับข้อมูลเหมือนกัน
    ค. มีลักษณะเหมือนกัน  แต่มีสีแตกต่างกัน
    ง. มีลักษณะต่างกัน แต่มีสีเดียวกัน คือสีม่วง

ข้อ 14. แป้น Function Key (F1-F12) บนแป้นพิมพ์  มีหน้าที่อะไร     
    ก. เป็นแป้นที่ใช้เป็นคำสั่งสั่งงานบ่อยๆ
    ข. เป็นแป้นที่พิมพ์ตัวอักษรที่ปรากฎอยู่
    ค. เป็นแป้นที่ให้ความสะอวดในการเล่นเกม
    ง. เป็นแป้นที่ใช้ในการคำนวณตัวเลข>

ข้อ 15. เม้าส์แสง (Optical Mouse)  ใช้หลักการในข้อใดทำงาน     
    ก. ใช้แสงสะท้อนในการกำหนดทิศทางการเคลื่อนที่
    ข. ใช้การเคลื่อนไหวกำหนดทิศทาง  ส่วนแสงนั้นเพื่อความสวยงาม
    ค. ใช้สัญญาณวิทยุในการกำหนดทิศทางการเคลื่อนที่
    ง. ใช้แสงเลเซอร์ในการกำหนดทิศทางการเคลื่อนที่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น