วันอังคารที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

หน่วยที่ 11 แนวทางการประกอบธุรกิจ

สาระสำคัญ

          ในบทนี้จะกล่าวถึงแนวทางการประกอบธุรกิจทางด้านคอมพิวเตอร์และด้านอื่นๆ เช่น การวางแผนทางการตลาด การขาย แหล่งที่มาของเงินทุน คุณสมบัติของผู้ประกอบธุรกิจ ปัญหาในการดำเนินการต่างๆ เป็นต้น

เรื่องที่จะศึกษา

  • ความหมายของธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์
  • แนวทางการตลาด
  • การวางแผนการตลาด
  • แผนการขาย
  • แหล่งที่มาของเงินทุน
  • คุณสมบัติของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อม
  • ปัญหาในการดำเนินธุรกิจขนาดย่อม
  • การเลือกประกอบอาชีพอิสระ
  • คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพอิสระ
  • ปัญหาและข้อแนะนำในการประกอบธุรกิจ


จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. บอกความหมายของธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์ได้
  2. เขียนแนวคิดทางการตลาดได้
  3. วางแผนการตลาดได้
  4. วางแผนการขายได้
  5. หาแหล่งที่มาของเงินทุนได้
  6. เขียนคุณสมบัติของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อมได้
  7. เขียนปัญหาในการดำเนินธุรกิจขนาดย่อมได้
  8. เลือกประกอบอาชีพอิสระตามที่ตัวเองชอบได้
  9. เขียนคุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพอิสระได้
  10. เขียนปัญหาและแนะนำผู้อื่นในการประกอบธุรกิจได้


ความหมายของธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์
   
          การดำเนินชีวิตของมนุษย์ในสมัยโบราณ มีความแตกต่างกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในปัจุบันเนื่องจากจำนวนประชากรของมนุษย์ในสมัยโบราณมีจำนวนน้อย แต่ละคนและแต่ละครอบครัวจะดำรงชีวิตอยู่ด้วยตนเองตามลำพัง โดยสร้างที่พักอาศัย ทำเครื่องนุ่งห่ม เพาะปลูกพืช และล่าสัตว์เพื่อเลี้ยงชีพของตนเองตามความสามารถของแต่ละคน เมื่อสังคมของมนุษย์ขยายขึ้น และความถนัดของมนุษย์มีไม่เหมือนกัน บางคนถนัดในการล่าสัตว์ บางคนถนัดในการเพาะปลูก บางคนถนัดในการทำเครื่องนุ่งห่ม จึงเกิดระบบการแลกเปลี่ยน โดยการใช้ของแลกของ (Barter System) กันขึ้น เช่น นำข้าวแลกเนื้อสัตว์นำไข่แลกเสื้อผ้า เป็นต้น แต่การนำของแลกของก็มีปัญหาบางอย่างเกิดขึ้น เพราะสิ่งของบางอย่างแบ่งแยกได้ยาก เช่น ข้าว 3 ถังแลกวัวได้ 1 ตัว แต่ถ้าคนที่มีข้าว 1 ถังต้องการแลกกับวัว 1 ตัวไม่ได้ ต้องมีการแบ่งแยกวัวซึ่งทำได้ยาก หรือบางครั้งความต้องการของคนที่นำมาแลกไม่ตรงกัน เช่น คนที่มีไข่ต้องการแลกกับเสื้อผ้า แต่คนที่มีเสื้อผ้าต้องการข้าวเป็นต้น ดังนั้นระบบการแลกเปลี่ยนของต่อของจึงเปลี่ยนไป โดยใช้สื่อกลางในการแลกเปลี่ยน สิ่งที่แต่ละยุคนำมาใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนขึ้นอยู่กับความพอใจของคนในแต่ละยุคนั้น เช่น เปลือกหอย ทองคำ ฯลฯ ซึ่งได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจนั่นเอง จากความเป็นมาของการดำเนินชีวิตดังกล่าวสามารถสรุปความหมายของธุรกิจได้ดังนี้                
          ธุรกิจ (Business) หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดการผลิตสินค้าและบริการโดยมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน และมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการประโยชน์หรือกำไรจากการกระทำกิจกรรมนั้น




แนวทางการตลาด

            ปัจจุบันเทคโนโลยีได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่เรียกกันว่ายุคนี้ คือ ยุคดิจิตอล ระบบการตลาดก็เช่นเดียวกัน ผลจากเทคโนโลยีทำให้ระบบการตลาดเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีความเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้การตลาดต้องปรับตัวให้ทัน กับระบบการค้า บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวคิดทางการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า Electronic Marketing หรือ E-Marketing เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจความแตกต่างระหว่างการตลาดแบบ ดั้งเดิม (Traditional Marketing) กับการตลาดแบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งทางด้านแนวคิด ลูกค้า สินค้าและบริการ  และกลยุทธ์การตลาดที่สำคัญ


การวางแผนการตลาด


          ถ้าท่านคิดจะทำธุรกิจ สิ่งที่จำเป็นประการแรก และ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการประกอบธุรกิจ หรือ กิจกรรมใดๆ ก็แล้ว ก็คือ กิจกรรมทางด้านการตลาด ทุกๆ วัน ท่านควรจะแบ่งเวลาให้กับกิจกรรมทางด้านการตลาด อย่างน้อยวันละ ๒ - ๓ ชั่วโมง แต่ก่อนที่ท่านจะเริ่มดำเนินกิจกรรมทางการตลาด สิ่งแรกที่ท่านจะต้องทำให้เสร็จก่อนก็คือ การวางแผนการตลาด การเขียนแผนการตลาดจะทำให้ท่านมองเห็นภาพที่ชัดเจนว่า ท่านจะจัดการเป้าหมายของงานทางด้านการตลาดของท่านอย่างไร เพื่อให้เป็นการง่ายต่อการเขียนแผนการตลาด แนวทางต่อไปนี้ จะช่วยสร้างความเข้าใจแก่ท่าน แนวทางเหล่านี้ จะเริ่มต้นตั้งแต่ การวิจัย หรือ สำรวจทางการตลาด จนถึงขั้นนำข้อมูลเหล่านั้นมาเขียนเป็นแผนการตลาด แนวทางในการเขียนแผนการตลาดประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ สามส่วน ดังต่อไปนี้

ส่วนที่ 1 คำแนะนำเบื้องต้น
·        ประโยชน์ของแผนการตลาด
ส่วนที่ 2 การวิจัยทางด้านการตลาด
·        การวิจัยขั้นปฐมภูมิ (การวิจัยจากข้อมูลเบื้องต้นที่มีอยู่)
·        การวิจัยขั้นทุติยภูมิ (การวิจัยจากการหาข้อมูลเพิ่มเติม)
ส่วนที่ 3 ส่วนผสมของแผนการตลาด
·        เตรียมการเขียนแผนการตลาด
·        สถานการณ์ทางด้านการตลาด
·        ผลกระทบในเชิงลบ และ แนวโน้มในเชิงบวก
·        จุดประสงค์ทางด้านการตลาด
·        เป้าหมายทางด้านการตลาด
·        รายละเอียดของเป้าหมายทางด้านการตลาด
·        งบประมาณทางด้านการตลาด
·        การติดตามผลความก้าวหน้า

·        บทสรุปผู้บริหาร


แผนการขาย

การวางแผน (planning) เป็นภาระกิจขั้นแรกของทุกกระบวนการ เป็นนักขายก็ควรเขียนแผนการขายไว้ล่วงหน้าได้เหมือนกัน
ซึ่งหากแผนที่วางไว้เหมาะสมมีเหตุผลเป็นไปได้ การขายก็จะดำเนินไปอย่างราบรื่นบรรลุวัตถุประสงค์ กระบวนการวางแผนมี 5 ขั้นตอน ได้แก่ การเตรียมการก่อนการวางแผน การวิเคราะห์ปัญหา การกำหนดแผนงานขาย การปฏิบัติตามแผน และการประเมิน
เมื่อตกลงจะมีการวางแผนงานแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดที่จะต้องพิจารณาคือจัดหาข้อมูลมาให้ได้บริบูรณ์ ข้อมูลที่ต้องการคือรายละเอียดเกี่ยวกับปัจจัยทั้งหลาย และต้องเป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือในกรณีขององค์การธุรกิจ การคาดคะเนการขาย (sales forecasting) เป็นข้อมูลพื้นฐานที่จะนำไปสู่การวางแผนขององค์การธุรกิจเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าธุรกิจอยู่ได้ด้วยการมีกำไร กำไรได้มาจากการจำหน่ายซึ่งสามารถจำหน่ายได้สูงกว่าต้นทุน ดังนั้นการจำหน่ายจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการวางแผนธุรกิจ ถ้าธุรกิจคาดคะเนว่าจะจำหน่ายได้สูงกว่าปีที่แล้วมา หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ฝ่ายผลิต จะต้องปรับปรุงวางแผนการผลิตเพิ่มขึ้น ฝ่ายการเงิน จะต้องเตรียมจัดหาเงินมาลงทุนในการจัดซื้อและการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการผลิต ฝ่ายการตลาด จะต้องเตรียมผู้คนและวงเงินค่าใช้จ่ายในการจัดจำหน่ายซึ่งจะต้องเพิ่มขึ้นตามอัตราส่วนเพิ่มของสินค้าที่จะจำหน่าย เป็นต้น

แหล่งที่มาของเงินทุน

บ่อยครั้งที่คำว่า “ไม่มีเงิน” ถูกใช้เป็นข้ออ้างที่สกัดการเริ่มต้นทำธุรกิจเป็นของตัวเอง เป็นต้นว่าไม่มีทุนบ้าง ไม่มีแหล่งทุนบ้าง และทำให้หลายคนเลือกพับเก็บความคิดที่จะเริ่มต้นธุรกิจเอาไว้ แต่ในความจริงแล้วธุรกิจหลายรูปแบบใช้เงินทุนในการเริ่มตั้งกิจการไม่มากเลย โดยจุดสำคัญในการเริ่มต้นธุรกิจน่าจะอยู่ที่การสร้างผลิตภัณฑ์ที่ดีและตรงความต้องการของลูกค้า มีแนวทางการบริหารและการตลาดที่แข็งแรงขึ้นมาให้ได้ก่อน หลังจากที่เริ่มมีโมเดลธุรกิจที่ชัดเจนและมีจุดเด่นน่าสนใจแล้วการจะออกไปหาเงินทุนเพิ่มเติมเพื่อต่อยอดให้ธุรกิจเติบโตต่อเนื่องก็น่าจะเป็นเรื่องง่ายขึ้นและการทำธุรกิจก็เป็นเรื่องที่เป็นไปได้สูงขึ้น
เมื่อผ่านจุดตั้งต้นธุรกิจมาได้แล้ว จึงถึงเวลาเริ่มมองหาทุนเพื่อขยายกิจการและเร่งการผลิตให้ทันต่อการแข่งขันในตลาด แต่ด้วยความที่ธุรกิจยังอยู่ในจุดเริ่มต้น ยังไม่เป็นที่รู้จัก จึงเป็นเรื่องที่ยากมากที่จะระดมทุนด้วยการยื่นเสนอขายหุ้นในตลาด อย่างไรก็ดี ยังมีแหล่งทุนอื่นๆ ที่เข้าถึงได้และสามารถช่วยธุรกิจขนาดกลางและย่อมที่เพิ่มเริ่มต้นอยู่พอสมควร ตั้งแต่คนใกล้ตัวที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเราเช่นคุณพ่อคุณแม่ หรือแหล่งเงินทุนที่เป็นองค์กรอย่างธนาคารและนักลงทุน

ธนาคารพาณิชย์ถือเป็นแหล่งเงินทุนอันดับต้นๆ ที่เรามักนึกถึง เนื่องจากพบได้ทั่วไปและมีโปรโมชั่นออกมาเป็นจำนวนมาก แต่การขอสินเชื่อจากธนาคารก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเสียทีเดียว เพราะธนาคารก็จะต้องพิจารณาความน่าเชื่อถือและโอกาสในการเติบโตของธุรกิจก่อนจึงจะอนุมัติให้สินเชื่อ โดยแผนส่วนใหญ่จะกำหนดคุณสมบัติของผู้กู้ต้องมีประสบการณ์ในด้านธุรกิจที่เกี่ยวข้องมาแล้ว 1-3 ปี ซึ่งน่าจะเป็นหลักประกันว่าผู้ประกอบการรู้จักธุรกิจนั้นๆ ดีในระดับหนึ่ง อีกทั้งหลายธนาคารก็มีข้อบังคับว่าผู้ประกอบการจะต้องนำเสนอแผนธุรกิจที่ชัดเจนและเป็นไปได้ก่อนการขออนุมัติสินเชื่อด้วย ดังนั้นการกู้ผ่านธนาคารอาจเหมาะกับเจ้าของกิจการที่ดำเนินงานมาสักระยะเกิน 1 ปีขึ้นไป ซึ่งจุดประสงค์ของการให้สินเชื่อก็เพื่อเพิ่มความคล่องตัวของเงินทุนหมุนเวียนและเพื่อการขยายตัวของกิจการ
เมื่อเราตัดสินใจจะกู้เงินจากธนาคารแล้ว เราต้องศึกษาในรายละเอียดว่าในแต่ละแผนกำหนดให้ต้องเตรียมนำเสนออะไรบ้าง อาทิ คนค้ำประกัน หรือเครื่องค้ำประกันอื่นๆ เช่น สิ่งปลูกสร้าง สัญญาเช่าอาคาร แผนพัฒนาธุรกิจ เป็นต้น และธนาคารส่วนใหญ่มักขอดูเอกสารสำคัญของบริษัท เช่น หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท เอกสารภาษี ซึ่งการเตรียมการให้พร้อมก็เป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นให้ธนาคารอีกทางหนึ่ง
ธนาคารได้ผนวกบทบาทเป็นผู้ให้องค์ความรู้แก่
ผู้ประกอบการ ประคองให้กิจการเดินหน้าไปได้ รวมทั้งสร้างเครือข่ายธุรกิจ
นอกเหนือจากบทบาทแหล่งเงินทุนสินเชื่อแล้ว ช่วงหลังๆ ธนาคารต่างๆ ก็เริ่มเข้ามามีบทบาทในการช่วยสนับสนุนช่วงเริ่มต้นและช่วงการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมากขึ้น โดยธนาคารได้ผนวกบทบาทเป็นองค์กรให้องค์ความรู้ผู้ประกอบการ ประคับประคองให้กิจการเดินหน้าไปได้ รวมทั้งสร้างเครือข่ายธุรกิจ อย่างเช่นโครงการ K SME Care ของธนาคารกสิกรไทย ซึ่งให้เจ้าของกิจการไม่ว่าจะเป็นลูกค้าของธนาคารหรือไม่สามารถเข้าร่วมโครงการเพื่อเข้าอบรม รวมทั้งเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และมุมมองทางธุรกิจกับเครือข่ายผู้ประกอบการรายอื่นๆ ด้วย

สิ่งที่นักลงทุนจะได้รับจากการลงทุนในธุรกิจหนึ่ง
ขึ้นอยู่กับการเติบโตและ
ผลประกอบการของบริษัทเป็นหลัก ทำให้นักลงทุนมักจะเป็นผู้ให้ความรู้และแนวทางในการดำเนินธุรกิจ หรือบางรายอาจส่งคนจากทีมเข้ามาบริหารงาน
สำหรับแหล่งทุนจากนักลงทุนจะมีวัตถุประสงค์การให้ทุนที่ต่างจากธนาคาร กล่าวคือธนาคารจะได้ประโยชน์จากการให้สินเชื่อโดยเก็บดอกเบี้ยจากผู้ขอสินเชื่อเป็นงวดๆ ไป ในขณะที่นักลงทุนจะมุ่งหวังการครอบครองหุ้นหรือกรรมสิทธิ์ในบริษัท นั่นหมายความว่าสิ่งที่นักลงทุนจะได้รับจากการลงทุนในสักธุรกิจหนึ่งจึงต้องขึ้นอยู่กับการเติบโตและผลประกอบการของบริษัทเป็นหลัก ทำให้นักลงทุนมีอีกลักษณะที่แตกต่างจากธนาคาร คือมักจะเป็นผู้ให้ความรู้และแนวทางในการดำเนินธุรกิจ หรือบางรายอาจส่งคนจากทีมเข้ามาบริหารงานในธุรกิจ
โดยหลักๆ แล้วมีนักลงทุนอยู่ไม่กี่ประเภท ประเภทแรกคือนักลงทุนรายบุคคล หรือที่เรียกว่า angel investor และนักลงทุนระดับองค์กร venture capitals หรือที่เรียกกันบ่อยๆ ว่า VC ซึ่งที่จริงแล้วนักลงทุนทั้งสองประเภทนี้เป็นที่นิยมในบรรดาธุรกิจ startup ต่างประเทศเสียมาก และยังไม่ค่อยมีนักลงทุนประเภทนี้ในประเทศไทยมากนัก

angel investor สามารถเป็นใครก็ได้ ส่วนใหญ่มักเป็นนักลงทุนรายบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจในเรื่องต่างๆ แตกต่างกันไป
สำหรับนักลงทุนประเภทนี้เป็นนักลงทุนอิสระที่สามารถให้ทุนเราได้โดยทันที ไม่ต้องมีแบบแผนในการยื่นขอทุนมากมาย เนื่องจากเป็นการติดต่อกับตัวบุคคลโดยตรงและทุนที่ให้ก็มักเป็นเงินทุนส่วนตัว การตัดสินใจให้ทุนก็มักอาศัยความเชื่อมั่นระหว่างกันเสียมาก ขณะเดียวกัน angel investor ก็มักจะเน้นน้ำหนักให้ความสำคัญกับแนวคิดธุรกิจที่น่าสนใจมากกว่าที่จะเน้นเรื่องผลตอบแทนในการลงทุน แต่ก็ใช่ว่าจะไม่สนใจเรื่องผลตอบแทนเลย อันที่จริง angel investor ก็อาจขอผลตอบแทนเป็นสิทธิ์ในการถือหุ้น ส่วนเรื่องการบริหารงานในธุรกิจ angel investor มักจะไม่ค่อยเข้ามาก้าวก่ายการบริหารงานมากนัก มักจะปล่อยให้เจ้าของไอเดียเป็นคนบริหารให้ธุรกิจเดินหน้าไปได้ แต่มักจะเข้ามามีบทบาทเป็นผู้ให้คำปรึกษาและคำแนะนำมากกว่า
angel investor สามารถเป็นใครก็ได้ ส่วนใหญ่มักเป็นนักลงทุนรายบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจในเรื่องต่างๆ แตกต่างกันไป นอกจากจะให้ทุนแล้ว angel investor ยังสามารถให้ความช่วยเหลือด้านอื่นๆ เช่นให้ความรู้ สอนประสบการณ์ที่เคยผ่านมา ยิ่งไปกว่านั้นยังอาจช่วยแนะนำให้เราได้รู้จักบุคคลอื่นๆ ที่เป็นสามารถเป็นแหล่งทุนให้เราได้อีกด้วย

VC เป็นนักลงทุนในรูปแบบองค์กร หรืออาจเรียกว่าเป็นองค์กรที่ประกอบขึ้นมาจากนักลงทุนหลายๆ คนรวมตัวกัน มีการรวมเงินลงทุนเป็นก้อนเดียวและบริหารจัดการว่าจะนำเงินลงทุนก้อนใหญ่นั้นไปแบ่งลงทุนกับธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตสูงอย่างไรบ้าง จึงอาจกล่าวได้ว่า VC อาจพิจารณาให้เงินทุนในจำนวนที่สูงกว่า angel investor ส่วนใหญ่ และเหมาะสำหรับกิจการที่ต้องการเงินก้อนใหญ่
โดยหลักๆ VC จะมุ่งหวังกำไรจากการลงทุนอย่างมาก และมองข้ามขั้นไปจนถึงว่าสามารถขายต่อกิจการของเราเพื่อเก็งกำไรในตลาดหุ้นได้
โดยหลักๆ VC จะมุ่งหวังกำไรจากการลงทุนอย่างมาก และมองข้ามขั้นไปจนถึงว่าสามารถขายต่อกิจการของเราเพื่อเก็งกำไรในตลาดหุ้นได้ ด้วยเหตุนี้ VC จึงมักส่งคนเข้ามาบริหารกิจการ เพื่อกำกับดูแลให้ธุรกิจของเราเติบโตได้ตามคาดหวัง รวมทั้งช่วยให้ความรู้และคำปรึกษาในเรื่องการบริหารธุรกิจด้วย สำหรับระดับการลงทุนของ VC มีตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นธุรกิจ ขั้นขยายกิจการ ระยะก่อนการเสนอขายหุ้นแก่สาธารณะชนเป็นครั้งแรก (IPO) หรือแม้แต่ระยะพลิกฟื้นธุรกิจ
อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุที่ว่า VC ให้ความสำคัญเกี่ยวกับกำไร และธรรมชาติของกลุ่มที่ประกอบด้วยนักลงทุนหลายคน การตัดสินใจก่อนอนุมัติให้ทุนจึงใช้เวลาและความรอบคอบอย่างมาก เพื่อให้แน่ใจว่าหากให้ทุนไปแล้วจะไม่สูญเปล่าและได้ผลตอบแทนกลับมาเต็มที่ ดังนั้นการขอทุนจาก VC จึงต้องมีเตรียมตัวนำเสนอธุรกิจอย่างมีระบบแบบแผนที่ชัดเจนและน่าสนใจ ต้องเตรียมเอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษร และที่สำคัญที่สุดคือต้องสามารถอธิบายขั้นตอนและแบบแผนการทำธุรกิจได้อย่างสร้างสรรค์และมีหลักการ จนนักลงทุนกลุ่มนี้สามารถมองเห็นโอกาสที่ชัดเจน และตกลงปลงใจที่จะให้เงินเราในท้ายที่สุด
●●●
แต่ทั้งนี้ไม่ว่าจะหาทุนด้วยการขอสินเชื่อธนาคารหรือขอทุนจากนักลงทุน หรือแม้แต่จากคนรู้จักที่มีความหวังดีต่อเราก็ตาม สิ่งที่เราควรทำคือต้องรักษามารยาทในการดำเนินการขอความช่วยเหลือ ตั้งแต่นำเสนอโครงการอย่างตั้งใจและมุ่งมั่น ยินดีตอบข้อซักถาม ต้องประเมินสถานการณ์อย่างเป็นกลางและรับฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูดอย่างตั้งใจเสมอ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมลงทุนมีส่วนแสดงความคิดเห็นด้วย สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานของความสำเร็จในการหาทุนและการทำธุรกิจด้วย

คุณสมบัติของผู้ประกอบธุรกิจขนาดย่อม

บุคคลที่มีความสนใจ  และเตรียมตัวเข้าสู่ธุรกิจขนาดย่อม  ต้องมีคุณสมบัติของนักธุรกิจที่ดี คือ
      1.  มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับงานอาชีพ  จากการศึกษาเล่าเรียนและการทำงานจะทำให้มีความรู้และประสบการณ์พื้นฐาน  สามารถนำมาประยุกต์กับธุรกิจของตนเองได้
      2.  มีความพร้อมที่จะทำงานหนัก  มีความอดทน
      3.  มีมนุษยสัมพันธ์ มีอัธยาศัยที่ดีกับบุคคลทั่วไป
      4.  สื่อสารกับบุคคลอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
      5.  มีภาวะผู้นำ
      6.  มีความภาคภูมิใจในผลงาน
      7.  มีความรับผิดชอบ
      8.  กล้าเสี่ยงและกล้าตัดสินใจ
      สรุปคุณสมบัติของผู้ประกอบการที่ต้องการความสำเร็จ  คือ  มีความพร้อมด้านจิตใจ  ความรู้ความสามารถ มีมนุษยสัมพันธ์  ความสามารถในการติดต่อสื่อสาร  และความสามารถในการบริหารจัดการ

ปัญหาในการดำเนินธุรกิจขนาดย่อม

1.  ปัญหาด้านการจัดการ ผู้ประกอบธุรกิจขนาดย่อมส่วนใหญ่ขาดประสบการณ์และขาดทักษะในการจัดการ  เนื่องจากธุรกิจขนาดย่อมเป็นกิจการของตนเอง  จึงจำเป็นต้องมีความรู้ความสามารถในทุก ๆ ด้าน  เช่น  ความเป็นผู้นำ  รู้จักการวางแผนที่ดี  การนำเสนอขายและให้บริการลูกค้า  เป็นต้น
     2.  ปัญหาด้านการเงิน การประกอบธุรกิจขนาดย่อม  ผู้ประกอบการ  คือ  เจ้าของกิจการการควบคุมด้านการเงินไม่มีมาตรการที่ดีพอ  ก่อให้เกิดการขาดแคลนเงินทุน  มีการรั่วไหลของการใช้จ่ายทำให้ธุรกิจขาดสภาพคล่องจึงทำให้ธุรกิจล้มเหลวได้ง่าย

การเลือกประกอบอาชีพอิสระ

          การประกอบอาชีพอิสระ คือ การประกอบกิจการส่วนตัวต่าง ๆ ในการผลิตสินค้าหรือบริการที่ถูกต้องตามกฎหมาย เป็นธุรกิจของตนเองไม่ว่าธุรกิจนั้นจะเล็กหรือใหญ่ก็ตาม  ซึ่งผู้ประกอบการสามารถที่จะกำหนดรูปแบบและวิธีดำเนินงานของตัวเองได้ตามความเหมาะสม ไม่มีเงินเดือนหรือมีรายได้ที่แน่นอนตายตัว ผลตอบแทนคือเงินกำไรจากการลงทุนนั่นเอง

การประกอบอาชีพอิสระดีอย่างไร
          ปัจจุบัน แม้ว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจะเพิ่มสูงขึ้น โครงการต่าง ๆ เกิดขึ้นหลายโครงการ ทำให้มีตำแหน่งงานว่างเป็นจำนวนมาก แต่ก็ยังไม่สามารถรองรับกำลังแรงงานซึ่งเพิ่มขึ้นในแต่ละปีได้ อีกทั้งการเป็นลูกจ้าง ข้าราชการและพนักงานในหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ส่วนใหญ่ต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติที่หน่วยงานนั้น ๆ ต้องการ เช่น คุณวุฒิทางการศึกษา ประสบการณ์หรือแรงงานที่มีทักษะ เป็นต้น คุณสมบัติเหล่านี้ได้กลายมาเป็นข้อจำกัดที่ปิดกั้นโอกาสของคนอีกหลายกลุ่มไม่ให้สามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานได้ โดยเฉพาะภาครัฐได้กำหนดอัตราการเพิ่มของข้าราชการไว้เพียง 2% นั่นย่อมหมายถึงโอกาสในการเป็นข้าราชการน้อยมาก ดังนั้น
          การประกอบอาชีพอิสระจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ว่างงาน แรงงานที่กลับจากการทำงานต่างประเทศ เยาวชนที่เข้าสู่ตลาดแรงงานใหม่ กลุ่มคนด้อยโอกาสต่าง ๆ ควรจะหันมาสนใจประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งเป็นการประกอบอาชีพส่วนตัว บริหารด้วยตนเอง เป็นทั้งเจ้านายและลูกน้องในขณะเดียวกัน และการมีกำไรหรือขาดทุนขึ้นอยู่กับการบริหารของตนเอง นอกจากนี้ การประกอบอาชีพอิสระยังไม่มีข้อจำกัด ด้านคุณวุฒิการศึกษา หากแต่เป็นการเปิดโอกาสให้กับทุกคนสามารถประกอบอาชีพได้ตามความสามารถและความสนใจของตนเอง
ผลดีของการเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระคือ
          1. เป็นเจ้านายตนเอง สามารถใช้ความรู้ ความสามารถที่ตนเองถนัดได้อย่างเต็มที่
          2.กำหนดการทำงานเอง สามารถกำหนดรูปแบบและวิธีการดำเนินงานของตนเองได้ตามความเหมาะสมของธุรกิจ
         3. รับผิดชอบกิจการเองทั้งหมด
         4. ตัดสินใจเอง มีอิสระในการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ อย่างเต็มที่ เพราะเป็นเจ้าของเงินทุน
         5.เป็นอิสระ ไม่ต้องเป็นลูกจ้างใคร ไม่ต้องรับคำสั่งจากใคร จะทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร เวลาใด สามารถกำหนดเองได้ทั้งสิ้น รวมทั้งความเป็นอิสระด้านความคิดสร้างสรรค์ได้อีกด้วย
         6. รายได้ไม่จำกัด ผลตอบแทนจากการดำเนินกิจการคือเงินกำไร
ซึ่งหากกิจการประสบผลสำเร็จ กำไรย่อมมากตามไปด้วย และถ้าธุรกิจนั้นมี
เจ้าของเพียงคนเดียว กำไรก็ไม่ต้องแบ่งกับใคร


คุณสมบัติของการเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ

           การเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระจำเป็นจะต้องมีคุณสมบัติต่างๆ เพื่อประกอบการเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระอย่างมีอิสระอย่างมีคุณภาพ ได้แก่
กล้าเสี่ยง (Taking risk) การประกอบอาชีพอิสระ แตกต่างจากการเป็นลูกจ้าง เนื่องจากต้องมีการลงทุน ในขณะที่เป็นลูกจ้างไม่ต้องลงทุนอะไร การลงทุนนั้นเป็นการเสี่ยงอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่รู้ว่าสิ่งที่เราลงทุนนั้นจะได้กำไรหรือขาดทุน แต่ในความเสี่ยงนั้น ผู้ประกอบอาชีพอิสระจะต้องไตร่ตรองให้รอบคอบและมีเหตุผลก่อนที่จะลงทุน รวมทั้งมีจิตใจอยากเป็นผู้ชนะเสมอ
มีความคิดสร้างสรรค์ (Taking initiative) การประกอบอาชีพอิสระมิได้ยึดติดกับรูปแบบใด ๆ เนื่องจาก
ผู้ประกอบอาชีพอิสระต้องเป็นนายของตนเอง ดังนั้น ในการปรับปรุงสินค้าหรือบริการสามารถทำได้อย่างมีอิสระ เพื่อให้ได้มาซึ่งกำไรในการดำเนินธุรกิจ
มีความเชื่อมั่นในตนเอง ผู้ประกอบอาชีพอิสระ จะต้องเป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง (Self - Confidence) ในการดำเนินกิจการของตนเอง จะรอให้ใครมาช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลาย่อมเป็นไปไม่ได
อดทน (Persistence and dealing with failure) การดำเนินธุรกิจของตนเองย่อมมีทั้งกำไรและขาดทุน โดยเฉพาะขั้นแรกจะต้องประสบปัญหาและอุปสรรคบ้าง ซึ่งถือได้ว่าเป็นเรื่องธรรมดา จะต้องเป็นผู้กล้ารับผิดและถูกในเวลาเดียวกัน และพร้อมที่จะยอมรับข้อผิดพลาด และแก้ไขข้อผิดพลาดด้วยตัวเองเสมอ หากพร้อมที่จะต่อสู้ปัญหาเหล่านั้น จุดหมายที่ตั้งไว้ก็จะประสบผลสำเร็จในที่สุด
มีวินัยในตนเอง (Having discipline) การประสบความสำเร็จในอาชีพซึ่งเราเป็นเจ้าของกิจการเอง จำเป็นต้องมีวินัย มีกฎระเบียบ การทำงนต้องทำสม่ำเสมอ มิเช่นนั้นความสำเร็จในอาชีพอาจจะไม่ประสบผลสำเร็จเลย
มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพ (Good attitude) ไม่ว่างานนั้นจะเป็นงานที่มีเกียรติหรือไม่ ผู้ประกอบอาชีพอิสระจะต้องรักในงานที่ทำ และให้เกียรติกับงานนั้น ๆ เสมอ)
มีความรอบรู้ (Seeking information) การประกอบอาชีพอิสระ จะต้องรับรู้ข่าวสารอยู่เสมอ เพื่อปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก ประโยชน์ของการรับรู้ข่าวสารจะทำให้สามารถปรับปรุงธุรกิจของตนเองให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ผลที่ได้คือกำไรนั่นเอง
มีมนุษย์สัมพันธ์ (Good human relationship) การประกอบอาชีพอิสระ จะต้องเป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์อันดี เพื่อผลประโยชน์ในธุรกิจของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า บุคคลรอบข้าง หรือคู่แข่งก็ตาม เพราะการมีมนุษย์สัมพันธ์อันดี จะทำให้มีความคล่องตัวในการดำเนินงานเป็นอย่างยิ่ง
มีความซื่อสัตย์ (Honesty with customer) ผู้ประกอบอาชีพอิสระ จะต้องมีความซื่อสัตย์และจริงใจต่อลูกค้า การบริการลูกค้าให้เกิดความประทับใจในการขายสินค้าหรือบริการและกลับมาใช้บริการอีกเป็นหัวใจสูงสุด เพื่อผลประโยชน์ต่อธุรกิจและต่อตัวเองในที่สุด


ปัญหาและข้อแนะนำในการประกอบธุรกิจ


การแก้ไข: 
          การวางแผนที่ดีนั้นจะช่วยให้ธุรกิจของเราสามารถควบคุมอนาคตของบริษัทได้ และถ้าดำเนินตามแผนที่ตั้งไว้ต่อไปเรื่อยๆ ก็จะพาเราไปสู่จุดหมายและความสำเร็จได้ไม่ยาก และนี่คือ 6 คำแนะนำที่จะช่วยให้เราวางแผนธุรกิจได้ง่ายขึ้น
  • มีการประเมินสภาพธุรกิจอยู่บ่อยๆ ว่าตอนนี้ได้กำไร ขาดทุน หรือมีสภาพคล่องทางการเงินเป็นอย่างไรบ้าง
  • ให้ความสำคัญกับการทำ SWOT: Strength (จุดแข็ง), Weakness (จุดอ่อน), Opportunity (โอกาส), Threat (ความเสี่ยง)
  • มีการกำหนดเป้าหมายของการทำธุรกิจให้แน่ชัด และต้องนำมาวิเคราะห์ใหม่อยู่ตลอด ถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไร
  • เริ่มต้นจากการวาดภาพรวมคร่าวๆ ในหัวตั้งแต่ต้นจนจบว่าธุรกิจเราจะดำเนินไปในทางใด ก่อนที่จะลงรายละเอียดในเวลาต่อมา
  • ควรกำหนดเป้าหมายย่อยๆ ไว้ระหว่างดำเนินไปถึงเป้าหมายใหญ่ เพื่อที่จะสามารถวัดได้ว่าตอนนี้เรามาได้กี่เปอร์เซ็นแล้ว และมีอะไรที่ยังต้องปรับปรุงอยู่บ้าง
  • วางแผนต่อๆ ไป และพยายามทำให้ได้ตามแผนนั้น


แบบทดสอบ

1. ข้อใดคือความหมายของธุรกิจคอมพิวเตอร์
ก. คือ กระบวนการที่ใช้บุคคลหรือทรัพยากรของหน่วยงาน
ข. คือ กิจกรรมที่ดำเนินการโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคล เพื่อก่อให้เกิดรายได้โดยมุ่งหวังกำไร
ค. กระบวนการดำเนินงานทางธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์
ง. สินค้าด้านคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ได้รับการจัดสรร เพื่อก่อให้เกิดความพึงพอใจต่อลูกค้า

2. ข้อใดไม่ใช่วัตถุประสงค์ในการวางแผนการตลาด?
ก. สำรวจช่องทางการตลาด เพื่อสร้างผลตอบแทนให้คุ้มค่า
ข. กำหนดตลาดเป้าหมายของธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์
ค. เพิ่มปริมาณธุรกิจที่ได้จากการคาดการณ์จากความน่าจะเป็น
ง. ประเมินโอกาส และปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การตลาดในระยะยาว

3. แผนการขายสามารถแบ่งได้เป็นกี่ขั้นตอน?
ก. 1                                        ข. 2
ค. 3                                        ง. 4

4.จุดมุ่งหมายของการเสนอขายคือข้อใด?
ก. ชักจูงลูกค้าสู่กระบวนการซื้อ
ข. เตรียมข้อมูลในการเสนอลูกค้า
ค. การเตรียมข้อมูลของพนักงานขายที่จะเสนอต่อลูกค้า
ง. ถูกทุกข้อ

5. ข้อใดจัดว่าเป็นแหล่งเงินทุนส่วนของเจ้าของ
ก. ชักจูงลูกค้าสู่กระบวนการซื้อ
ข. เตรียมข้อมูลในการเสนอลูกค้า
ค. การเตรียมข้อมูลของพนักงานขายที่จะเสนอต่อลูกค้า
ง. ถูกทุกข้อ

6. แหล่งลงทุนที่สำคัญมาจากแหล่งใดบ้าง
ก. เงินทุนจากส่วนของเจ้าของ
ข. แหล่งเงินทุนจากธนาคารไทยพาณิชย์
ค. แหล่งเงินทุนจากธนาคารและสถาบันการเงิน
ง. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา

7. IFCT เป็นชื่อย่อของอะไร?
ก. บริษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ข. ธนาคารแห่งประเทศไทย
ค. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ง. สำนักงานธนกิจอุตสาหกรรมขนาดย่อย

8. แหล่งเงินทุนนอกระบบ คือแหลงเงินทุนชนิดใด
ก. แหล่งเงินทุนที่ทางราชการไม่สามารถควบคุมได้ อาศัยความสมัครใจระหว่างผู้กู้กับผู้ให้กู้โดยตกลงกันเอง
ข. แหล่งเงินทุนที่กู้มาจากส่วนราชการ
ค. เงินทุนจากรัฐวิสาหกิจ
ง. แหล่งเงินทุนเพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์

9. ผู้ประกอบการ มีความหมายตรงกับข้อใด
ก. บุคคลที่มีความคิดที่จะทำธุรกิจและเป็นผู้จัดตั้งองค์การธุรกิจขึ้นมา
ข. คณะบุคคลที่ร่วมมือจัดตั้งองค์การธุรกิจโดยไม่หวังผลกำไร
ค. ผู้จัดตั้งสมาคมหรือมูลนิธิเพื่อสาธารณะประโยชน์
ง. ถูกทุกข้อ

10. ข้อใดคือคุณสมบัติที่สำคัญของผู้ประกอบการที่จะประสบผลสำเร็จ?
ก. ความสามารถและความริเริ่มสร้างสรรค์
ข. มีเงินทุนเพียงพอ
ค. มีการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าสม่ำเสมอ
ง. รับข้อเสนอ ข้อเรียกร้องต่างๆ จากลูกค้าไว้พิจารณา

 
11. บุคคลหรือทัพยากรทางธุรกิจที่มีอยู่ได้แก่อะไรบ้าง
 
12. Prospecting มีความหมายว่าอย่างไร
 
 
13. การเตรียมการขายในภาษาอังกฤษเขียนได้อย่างไร
 
 
 
14. หัวใจสำคัญที่สุดของแผนการขาย สามารถจัดได้กี่ขั้นตอน
 
 
15. แหล่งเงินทุน (Source of Funds) มาจากกี่แหล่ง
 

หน่วยที่ 10 โน้ตบุ๊ก

สาระสำคัญ

            โน้ตบุ๊ก (Notebook) คือเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาชนิดหนึ่งที่สามารถพกพาไปในที่ต่างๆ ได้อย่างสะดวก แต่จะมีราคาสูงกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพีซีเมื่อเปรียบเทียบรุ่นและสมรรถนะการทำงานที่เท่ากัน ในปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊กได้รับความนิยมจากลูกค้าเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากสมรรถนะการทำงานที่สูงขึ้นประกอบกับราคาที่ถูกลง

เรื่องที่จะศึกษา

  • คอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊ก
  • วัสดุที่ใช้ทำเครื่อง
  • น้ำหนักของโน้ตบุ๊ก
  • ส่วนประกอบ
  • ซีพียู
  • อุปกรณ์ชี้
  • พอร์ตเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอก
  • ระบบเสียงและลำโพง
  • แบตเตอรี่
  • ระบบระบายความร้อน
  • ไดร์ฟเก็บข้อมูลต่างๆ

จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. บอกลักษณะของคอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊กได้
  2. อธิบายรายละเอียดวัสดุที่ใช้ทำตัวเครื่องได้
  3. เขียนน้ำหนักของโน้ตบุ๊กได้
  4. เขียนส่วนประกอบต่างๆของโน้ตบุ๊กได้
  5. เขียนลักษณะของซีพียูได้
  6. ใช้อุปกรณ์แบบต่างๆได้
  7. วาดรูปพอร์ตเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกได้
  8. บอกลักษณะระบบและลำโพงของโน้ตบุ๊กได้
  9. เขียนรายละเอียดของแบตเตอรี่ได้
  10. เขียนรายละเอียดระบบระบายความร้อนได้
  11. ใช้งานไดร์ฟเก็บข้อมูลแบบต่างๆได้

  1. คอมพิวเตอร์แบบโน๊ตบุ๊ก

              notebook computer
    หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กมาก บางทีเรียกขนาดสมุดโน้ต หรือขนาดพกพา เพราะสามารถพกพาติดตัวไปไหน ๆ ได้สะดวก ใช้ได้ทั้งกับไฟบ้านและแบตเตอรี น้ำหนักไม่ถึง 1 กิโล กรัม ปัจจุบัน กำลังได้รับความนิยมมาก มีความหมายเหมือน notepad computer
2. วัสดุที่ใช้ทำตัวเครื่อง
          นอกเหนือจากการที่เราจะซื้อโน้ตบุ๊กมาใช้งานซักหนึ่งเครื่อง สิ่งที่ต้องดูเป็นอันดับต้นๆ ก็คือ สเปกที่ใช้งานซึ่งประกอบไปด้วยชิปประมวลผล หน่วยความจำแรม หน่วยความจำสำรอง ชิปกราฟิการ์ด และอื่นๆ อย่างเช่นช่องทางพอร์ตการเชื่อมต่อ เป็นต้น
มาในตอนนี้เราจะพามาดูอีกส่วนประกอบหนึ่งในการเลือกซื้อโน้ตบุ๊ก อย่างวัสดุในการผลิตจนเป็นโน้ตบุ็กหนึ่งเครื่อง ที่หลักๆ แล้ววัสดุที่เราเห็นกันก็จะมี อาทิเช่น พลาสติก (มีทั้งแบบด้านและแบบมัน), อะลูมิเนียมอัลลอยด์ (อะลูนิเนียมผสมโลหะอื่น), แม็กนีเซียมอัลลอยด์ (แม็กนีเซียมผสมโลหะอื่น) และคาร์บอนไฟเบอร์ อีกทั้งในอนาคตเราอาจจะเห็นอีกหนึ่งวัสดุอย่าง ไฟเบอร์กลาส ในการมาเป็นวัสดุหลักในการประกอบเครื่อง Ultrabook ซึ่งมีคุณสมบัติในเรื่องของความแข็งแรงและน้ำหนักเบา แต่ก็อาจจะไม่ถึงขั้นของโลหะชนิดอื่นๆ ต่อไปเราก็จะมีดูกันว่า วัสดุแต่ละชนิดนั้นมีจุดเด่นและความน่าสนใจอย่างไรกันบ้าง
พลาสติก
          เรียกได้พลาสติกนั้นว่าเป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมสูงสุดในการประกอบเป็นเครื่องโน้ตบุ๊ก Mainstream (โน้ตบุ๊กขนาด 13, 14, 15 นิ้ว ที่เน้นใช้งานแทนคอมพิวเตอร์พีซีเป็นหลัก) ที่อาจจะเป็นพลาสติกแบบเกรดธรรมดา หรือคุณภาพสูงอย่าง ABS (มีทั้งแบบด้านและแบบมันวาว) โดยราคาของโน้ตบุ๊กที่ใช้พลาสติกเป็นวัสดุนั้นจะอยู่ในช่วงราคาตั้งแต่หมื่นบาทไปจนถึงหลายหมื่นบาทด้วยกัน ซึ่งของดีของการใช้พลาสติกเป็นวัสดุในการประกอบโน้ตบุ๊กสำหรับผู้ผลิตค่ายต่างๆ ก็คือ มีต้นทุนที่ถูกที่สุด รวมไปถึงสามารถขึ้นรูปทรงได้ง่าย ถ่ายเทความร้อนได้งดี (ไม่อมความร้อน) ถึงว่าความแข็งแรงทนทานอาจจะมีไม่มากนัก สามารถใช้งานทั่วไปได้อย่างสบายๆ อย่างไม่ต้องกังวล แต่ก็อาจจะมีข้อสังเกตอยู่ว่า หากใช้ไปนานๆ อาจจะมีอาการกรอบ ทำให้แตกหักได้ง่าย รวมไปถึงสีสันที่เคลือบเอาไว้อาจจะหลุดลอกได้
ที่ส่วนมากหรือเกือบ 100% ของโน้ตบุ๊กทั้งหมดที่ใช้พลาสติกเป็นส่วนประกอบนั้น จะเน้นไปในเรื่องของความคุ้มค่าในส่วนของสเปกและราคาเป็นหลัก ซึ่งในการใช้งานจริงๆ วัสดุอย่างพลาสติกอาจจะไม่ได้ให้ในเรื่องของความที่เป็นวัสดุระดับสูงนัก แต่ก็ถือว่าเหมาะสมกับคนที่ไม่เน้นในเรื่องของวัสดุในการประกอบ เพราะหากเทียบโน้ตบุ๊กเสปกเดียวกัน ที่ต่างกันด้วยวัสดุและดีไซน์ล่ะก็ จะเห็นว่าโน้ตบุ๊กที่ใช้วัสดุเป็นพลาสติกนั้นจะมีราคาถูกกว่าร่วมหมื่นบาทเลยทีเดียว
ซอฟท์ทัช
          ซอฟท์ทัช (Soft Touch) เป็นวัสดุประเภทพลาสติกกึ่งยางที่เกิดจากกระบวนการฉีดพลาสติกเข้าสู่แม่พิมพ์แล้วทำการรีดผ่านโรลเย็น โดยวิธีการทำนั้นต้องอาศัยเวลาและน้ำหนักการดึงที่พอดี ไม่เช่นนั้นพื้นผิวยางจะเกิดความเสียหายได้ โดยหลังจากผ่านกระบวนการข้างต้นแล้วก็จะเข้าสู่กระบวนการ Thermoforming ที่เป็นกระบวนการขึ้นรูป ให้พลาสติกขึ้นรูปเป็นรูปแบบต่างๆ ได้ด้วย
ซอฟท์ทัชจัดเป็นพลาสติก ABS ประเภทหนึ่ง โดดเด่นด้านสัมผัสที่ดี ไม่ลื่นหลุดมือง่าย ทนต่อรอยขีดข่วนกับการถลอกได้ดี ไม่สะท้อนแสงและไม่มันวาว หนาไม่ถึง 1 มิลลิเมตร ทำให้เมื่อนำมาปิดทับจะไม่ทำให้เครื่องหนาเกินไปรวมทั้งเสริมมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์นั้นๆ รวมทั้งทำให้ดูดียิ่งขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย แต่ว่าซอฟท์ทัชนั้นไม่ได้เป็นวัสดุหลักเหมือนกับอะลูมิเนียมหรือพลาสติก แต่เป็นส่วนเสริมที่นำมาปิดทับเสริมเพื่อเพิ่มมูลค่าให้โน้ตบุ๊กหรือสินค้านั้นๆ โดยวัสดุซอฟท์ทัชได้รับความนิยมจากผู้ผลิตโน้ตบุ๊กในปัจจุบันมากยิ่งขึ้นเพื่อสัมผัสที่ดีและไม่ลื่นหลุดมือง่ายเหมือนวัสดุอื่นๆ?
อะลูมิเนียมอัลลอยด์
           เป็นอีกขั้นของวัสดุในการประกอบเป็นโน้ตบุ๊กซักหนึ่งเครื่อง กับอะลูมิเนียมอัลลอยด์ ที่ในตอนนี้เราจะเห็นกันได้ง่ายๆ จากโน้ตบุ๊กที่เน้นความบางเบารุ่นใหม่ๆ อย่าง Ultrabook แทบทุกค่าย หรือถ้าเป็นก่อนหน้านี้เราจะเห็นกันบ่อยๆ ก็จะเป็นในฝั่งของ MacBook Pro และ MacBook Air จาก Apple ที่ใช้กระบวนการพิเศษในการขึ้นรูปตัวเครื่องด้วยอะลูมิเนียมอัลลอยด์เพียงชิ้นเดียว (Unibody) ซึ่งก็จะได้ในเรื่องความแข็งแกร่งและน้ำหนักเบา รวมไปถึงเมื่อใช้งานก็รู้สึกได้ถึงความแข็งแรงและหรูหรากว่าวัสดุที่เป็นพลาสติก ที่สำคัญด้วยความที่อะลูมิเนียมอัลลอยด์เป็นโลหะ ให้ในการขึ้นรูปทรงเป็นชิ้นส่วนบางๆ ได้ง่ายโดยยังให้ในเรื่องความทนทานอยู่ แต่ก็มีข้อจำกัดตรงที่ค่อนข้างจะเป็นสื่อนำความร้อนได้ง่าย
สำหรับโน้ตบุ๊กที่เลือกใช้วัสดุอย่างอะลูมิเนียมอัลลอยด์สิ่งหนึ่งที่ทางผู้ผลิตโน้ตบุ๊กค่ายนั้นๆ ต้องรับภาระมากยิ่งขึ้นก็คือต้นทุนในผลิต เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่าอะลูมิเนียมมีต้นทุนในผลิตนั้นสูงกว่าพลาสติก จึงทำให้โน้ตบุ๊กที่ใช้อะลูนิเนียมอัลลอยด์เป็นวัสดุนั้น ต้องเน้นไปในเรื่องความความหรูหรา สวยงาม หรือเน้นไปในทิศทางของไลฟ์สไตล์ โดยไม่เน้นในส่วนของราคาที่คุ้มค่าต่อสเปกที่ได้ซักเท่าไหร่นัก หรือเรียกง่ายว่าโน้ตบุ๊กที่ใช้วัสดุเป็นอะลูมิเนียมนั้นจะกลุ่มตลาดกลาง – บน เป็นหลัก ราคาค่าตัวของโน้ตบุ๊กที่ใช้วัสดุแบบนี้อยู่ที่ 3 หมื่นบาทจนไปถึงหลายหมื่นบาท
ซึ่งถ้าโน้ตบุ๊กรุ่นไหนที่ต้องการให้ดูแล้วหรูหรามีสไตล์กว่าโน้ตบุ๊กใช้วัสดุที่เป็นพลาสติกทั่วไปแล้วล่ะก็ อาจจะมีการเลือกใช้อะลูนิเนียมเป็นบางส่วน อย่างเช่นฝาหลังของเครื่อง หรือที่วางข้อมือด้านในตัวเครื่อง เป็นต้น แต่วัสดุหลักยังคงใช้เป็นพลาสติกแบบเดิมๆ อยู่
แม็กนีเซียมอัลลอยด์
        โลหะบริสุทธ์มักจะมีคุณสมบัติไม่ได้ตามความต้องการ เลยมีการนำโลหะชนิดอื่นมาผสมด้วย เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติบางประการให้ดีขึ้น อย่างที่กล่าวมาแล้วก็?อะลูมิเนียมอัลลอยด์ (อัลลอยด์ หมายถึง?โลหะผสม) โดยในส่วนของแม็กนีเซียมอัลลอยด์ก็เช่นเดียว ที่ทำให้มีคุณสมบัติในเรื่องของความเบาและความแข็งแรงทนทาน (ล้อแม็กซ์ ที่ใช้ในรถยนต์ก็ใช้วัสดุเป็น?แม็กนีเซียมอัลลอยด์ เหมือนกัน) ซึ่งคุณสมบัติหลายๆ ประการอาจจะเหมือนกับในส่วนของ?อะลูมิเนียมอัลลอยด์ แต่ก็เหนือกว่าด้วยน้ำหนักที่เบากว่า รวมไปถึงระบายความร้อนได้ดี แต่ในด้านของต้นทุนก็สูงกว่าด้วยเช่นกัน
ส่วนมากแล้วโน้ตบุ๊กที่ใช้แม็กนีเซียมอัลลอยด์เป็นวัสดุจะเป็นโน้ตบุ๊กที่เน้นความบางเบาหรือความแข็งแรง ซึ่งส่วนมากจะเป็นโน้ตบุ๊กแบบองค์กรหรือมืออาชีพที่อาจจะไม่ได้เน้นในเรื่องความสวยงามมากนัก แต่จะให้ความสำคัญในเรื่องของความแข็งแกร่งทนทานเป็นพิเศษ ในการใช้งานจริงผู้ใช้งานก็จะสัมผัสได้ถึงความไว้ใจได้ของงานประกอบ ทำให้เมืื่อพกพาไปใช้งานนอกสถานที่ก็มีความน่าเชื่อถืออีกด้วย โดยส่วนมากโน้ตบุ๊กที่ใช้วัสดุนี้ราคาจะอยู่ที่ 4-5 หมื่นบาทขึ้นไป
คาร์บอนไฟเบอร์
            ต้องบอกก่อนเลยว่าโน้ตบุ๊กน้อยเครื่องนักที่จะเลือกใช้ในส่วนของวัสดุอย่างคาร์บอนไฟเบอร์ เพราะด้วยคุณสมบัติที่สุดยอด ทั้งในเรื่องของความแข็งแรงทนทาน ยืดหยุ่น และน้ำหนักที่เบาอย่างเหลือเชื่อแล้ว ยกตัวอย่างโน้ตบุ๊กที่ใช้วัสดุนี้ก็จะเป็น Sony Vaio Z ในทุกๆ รุ่น และ Gigabyte X11?ซึ่งมีข้อสังเกตที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ จะมีราคาที่ค่อนข้างสูงมาก (เมื่อเทียบกับสเปกที่ได้) ทำให้คนที่จะซื้อโน้ตบุ๊กที่ใช้วัสดุอย่างคาร์บอนไฟเบอร์ ค่อนข้างจำเป็นต้องใช้งานโน้ตบุ๊กที่น้ำหนักเบา ที่สำคัญยังให้ภาพลักษณ์ที่ดีมากๆ โดยในเรื่องของประสิทธิภาพยังคงให้ความแรงที่เพียงพอต่อการใช้งานอยู่ ซึ่งปกติแล้ววัสดุอย่างคาร์บอนไฟเบอร์นี้นิยมใช้กับรถยนต์ราคาแพง หรือเครื่องรบเท่านั้น
และนอกเหนือจากนี้โน้ตบุ๊กในบางรุ่นบางค่ายอาจจะมีการใช้วัสดุที่ซับซ้อนหรือแตกต่างไปจากนี้ อย่างเช่น Lenovo ซีรีย์ ThinkPad ในบางรุ่นนั้น โครงสร้างด้านในตัวเครื่อง (Roll Cage) จะเป็นแม็กนีเซียมอัลลอยด์ที่จะช่วยในเรื่องของความแข็งแรงเมื่อเครื่องตกกระแทก ส่งผลให้ลดความเสียหายภายในอย่างฮาร์ดดิสก์ หรือเมนบอร์ดลงได้ แต่ภายนอกนั้นจะใช้เป็นลักษณะพลาสติกที่แข็งแรงทนทานเป็นพิเศษ หรืออย่างในโน้ตบุ๊กบางรุ่นที่เน้นไปในเรื่องของความบางและน้ำหนักที่เบา อาจจะใช้วัสดุแบบพิเศษที่ไม่เห็นกันทั่วไป ยกตัวอย่าง Samsung Series 9 รุ่นแรก ที่ได้มีการใช้วัสดุอย่าง ดูราลูมีน??(Duralumin) ซึ่งปกติแล้วจะใช้ในอุตสาหกรรมอากาศยาน แน่นอนว่าจึงเป็นหนึ่งปัจจัยในการที่ให้โน้ตบุ๊ก Samsung รุ่นนี้มีราคาที่ค่อนข้างสูงกว่าโน้ตบุ๊กในสเปกเดียวกันที่ใช้วัสดุชนิดอื่น
แล้วก็สำหรับโน้ตบุ๊กที่ใช้?อะลูมิเนียมอัลลอยด์, แม็กนีเซียมอัลลอยด์ หรือ คาร์บอนไฟเบอร์ มักจะมาพร้อมกับงานประกอบที่มีความประณีตกว่าโน้ตบุ๊กที่ใช้เป็นพลาสติก และสำหรับใครถ้าหากไม่แน่ใจว่าโน้ตบุ๊กตัวที่เรากำลังจะซื้อนั้นใช้วัสดุในการประกอบก็สามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ของเรากันก่อนได้นะครับ หรือถ้าไม่มั่นใจอีกก็สามารถสอบถามกันได้ที่หน้าสเปกกันได้เลย
ปิดท้ายนี้ก็จะบอกว่าที่กล่าวมาทั้งหมดในเรื่องของวัสดุนั้น ก็มีความสำคัญและน่าสนใจไม่แพ้ในเรื่องอื่นๆ เหมือนกัน ซึ่งสำหรับบางคนนั้นจะเน้นในเรื่องของสเปกต่อราคาเป็นหลักเสียก่อน อันนี้ก็คงต้องยอมรับกับโน้ตบุ๊กใช้วัสดุที่เป็นพลาสติกกันไป แต่สำหรับใครหลายๆ คนที่ต้องการโน้ตบุ๊กที่มากกว่าสเปกแล้วล่ะก็ คงต้องลองมาดูในส่วนของโน้ตบุ๊กที่ใช้วัสดุอย่าง อะลูมิเนียมอัลลอยด์, แม็กนีเซียมอัลลอยด์ หรือ คาร์บอนไฟเบอร์กันนะครับ แต่อย่างไรก็ต้องยอมรับว่าต้องจ่ายเงินเพิ่มส่วนต่างด้วยนะครับ
ดังนั้นเมื่อเทียบกันแล้ว วัสดุทั้งห้าแบบจะแตกต่างกันและมีข้อดีข้อด้อยแตกต่างกัน โดยเราจะเปรียบเทียบกันในส่วนของสัดส่วนพบเจอในตลาด, ความแข็งแรง, การถ่ายเทความร้อน ว่าวัสดุแต่ละอย่างจะแตกต่างกันอย่างไร


3. น้ำหนักของโน๊คบุ๊ก

          แน่นอนว่าสิ่งที่สำคัญมากๆ สำหรับการตัดสินใจซื้อคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คคือ ขนาดและน้ำหนักของเครื่อง ดังนั้นเมื่อคุณมองหาโน๊ตบุ๊คสักเครื่อง ต้องคิดอยู่เสมอว่า มันเป็นสิ่งที่คุณต้องถือไปที่ไหนได้ ที่สำคัญให้เพิ่มน้ำหนักของอุปกรณ์เสริม เช่น ปลั๊กไฟ แบตเตอรี่สำรอง เข้าไปใจการตัดสินใจด้วย

4. ส่วนประกอบ
          นับว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีบทบาทสำคัญ และปัจจัยหนึ่งไปแล้ว สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดพกพา หรือที่เรียกว่าคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค ถึงแม้ปัจจุบันจะมีกระแสแท็บเล็ตที่มีความสามารถมาก ให้ผู้ใช้เลือกใช้ แต่ความสามารถก็ยังไม่เจ๋งเท่าเครื่องคอมพิวเตอร์ และโดยเฉพาะที่เป็นแบบโน๊ตบุ๊คแล้ว ทุกวันนี้เรียกได้ว่าประสิทธิภาพถูกพัฒนาขึ้นมาก ทั้งความเร็วและความแรง ให้งานได้ดีและเหมาะสมกว่าเครื่องแบบพีซีด้วยซ้ำไป แถมราคาก็ยังถูกลงมากเมื่อเทียบกับเมื่อก่อน ดังนั้นจึงไม่แปลกที่จะเป็นที่นิยม และมีผู้ใช้งานเป็นจำนวณมาก วันนี้ i7 จึงขอนำเสนอบทความที่อาจมีประโยชน์กับผู้ใช้มือใหม่หลายๆท่าน ที่บางคนอาจจะไม่รู้จักส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊กที่ตัวเองซื้อมา และแต่ละอย่างมันทำหน้าที่อะไรบ้าง
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค
จากภาพประกอบ i7 จะพูดถึงรายละเอียดคร่าวๆ พอให้รู้จักส่วนต่างๆ กันไปก่อน แล้วจะค่อยๆเจาะลึกแต่ละส่วน
A : หน้าจอแสดงผล หรือจอแอลซีดี(LCD) สำหรับแสดงผลให้เราสามารถติดต่อและทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
B : กล้องเว็บแคม ส่วนมากโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ๆ จะมีมาให้ด้วยเสมอ กล้องนี้ก็มีไว้สำหรับใช้สนทนาผ่านกล้องเว็บแคม หรือวิดีโอคอลเป็นต้น
C : ปุ่มเปิดเครื่อง สำหรับปุ่มเปิดเครื่องแต่ละรุ่น ก็อาจจะอยู่ตำแหน่งที่ต่างกัน
D : คีย์บอร์ด สำหรับพิมพ์ หรือป้อนข้อมูลเข้าไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค
E : ทัชแพ็ด (Touchpad) คือเมาส์แบบทัชแพ็ด สำหรับควบคุมเคอร์เซอร์ในการทำงาน
F : ปุ่มกดคลิ๊กซ้าย/ขวา ใช้สำหรับคลิ๊ก และคลิ๊กขวา ตามลำดับ เหมือนกับการใช้ในเมาส์แบบทั่วๆไป 
G : พอร์ท USB 3.0 สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบใหม่ๆ จะมีพอร์ทที่รองรับ USB 3.0
H : ออปติคอลไดรว์ หรือ DVD Drive สำหรับอ่าน CD/DVD หรือแผ่นดิสก์ทั่วไป
I : ช่องเสียบ USB
J : ช่องเสียบสายชาร์จโน๊ตบุ๊ค
K : ช่องระบายความร้อน
L : พอร์ตเสียบสายแลน (Ethernet RJ-45)
M : พอร์ต VGA สำหรับกับจอแสดงผลภายนอก
N : พอร์ตต่างๆ เช่น USB ช่องเสียบไมโครโฟน ช่องเสียบลำโพง เป็นต้น
หมายเหตุ * ตำแหน่งที่ัตั้งของส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์แต่ละรุ่นอาจแตกต่างกันไป

5. หน่วยประมวลผล (CPU)
          
          หน่วยประมวลผลขนาดเล็กที่เคยใช้กันอยู่ในโน๊ตบุ๊ค เดี๋ยวนี้แทบจะไม่มีให้เห็นแล้ว เมื่อโน๊ตบุ๊คในปัจจุบันเปลี่ยนไปใช้ CPU ที่เป็น Core i ซะส่วนใหญ่ ความสามารถและประสิทธิภาพความเร็วก็เพิ่มขึ้น การใช้งานหลายๆ แอพพลิเคชั่นพร้อมกันก็สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็ส่งผลกระทบกับอายุการใช้งานของแบตเตอรี่เช่นกัน ดังนั้นก่อนจะตัดสินใจซื้อ คุณควรชั่งน้ำหนักระหว่าง ระยะเวลาการใช้งาน หรือประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น

6. พอร์ตเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอก

รู้จักกับพอร์ตและสล็อตต่างๆของโน้ตบุ๊ค
vajira
พอร์ตและสล็อตต่างๆของโน้ตบุ๊ค
vajira
พอร์ตอนุกรม (Serial Port)
          พอร์ตอนุกรมหรือเรียกอีกอย่างว่า COM Port (Communication Port) ลักษณะจะเป็นพอร์ตตัวผู้มีขาสัญญาณ 9 ขา มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลอยู่ที่ 0.1 Mbps ลักษณะการงานของพอร์ตอนุกรมนี้ส่วนใหญ่จะใช้กับอุปกรณ์รุ่นเก่าๆ เช่น โมเด็ม เมาส์ เป็นต้น สำหรับในปัจจุบันอุปกรณ์ต่างๆเหล่านี้หันไปใช้การเชื่อมต่อผ่านทางพอร์ต USB ที่มีความเร็วการรับส่งข้อมูลมากกว่า ดังนั้นในปัจจุบันจึงไม่พบพอร์ตอนุกรมในโน้ตบุ๊คซักเท่าไหร่


vajira
พอร์ตขนาน (Parallel Port)
          พอร์ตขนานเป็นพอร์ตรุ่นเก่า มักใช้ในการเชื่อต่อกับเครื่องปรินเตอร์ จึงเรียกได้อีกอย่างว่า พอร์ตเครื่องพิมพ์ (Printer Port) เช่นเดียวกันกับพอร์ตอนุกรม อุปกรณ์ต่างๆหันไปใช้การเชื่อมต่อผ่านทางพอร์ต USB ที่มีความเร็วการรับส่งข้อมูลมากกว่า ดังนั้นในปัจจุบันจึงไม่พบพอร์ตขนานในโน้ตบุ๊คซักเท่าไหร่
vajira
พอร์ต PS/2
          เป็นพอร์ตที่ใช้เชื่อต่อกับเมาส์หรือคียบอร์ดภายนอก เนื่องจากคียบอร์ดโน้ตบุ๊คมีความแตกต่างกับคีย์บอร์ดของเครื่องคอมพิวเตอร์ PC ซึ่งทำให้ใช้งานไม่คล่องตัว และการใช้ทัชแพดของโน้ตบุ๊คก็สะดวกสู้การใช้เมาส์ไม่ได้ แต่ในปัจจุบันคีย์บอร์ดและเมาส์ของโน้ตบุ๊คที่มีการเชื่อมต่อผ่านพอร์ต USB มีขายมากมายตามท้องตลาด ดังนั้นปัจจุบันจึงไม่พบพอร์ตชนิดนี้ในโน้ตบุ๊ค

vajira
พอร์ต USB
          เป็นพอร์ตการเชื่อมต่อที่มีความจำเป็นกับการงานคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน เนื่องจากอุปกรณ์ภายนอกหลายๆชนิดนิยมใช้พอร์ตนี้ในการติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์หรือตัวโน้ตบุ๊ค ตัวอย่างของอุปกรณืที่ใช้พอร์ต USB ได้แก่ เครื่องปรินท์เตอร์ เมาส์ อุปกรณ์เก็บข้อมูลและกล้องดิจิตอล เป็นต้น ความเร็วของการรับส่งข้อมูลผ่านพอร์ต USB ถ้าเป็น USB 1.1 จะมีความเร็วอยู่ที่ 12 Mbps แต่ถ้าเป็นพอร์ตแบบ USB 2.0 แล้วจะมีความเร็วการรับส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นเป็น 480 Mbps

vajira
พอร์ต RJ45 (LAN Port)
          เป็นพอร์ตที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับสายแลนที่มีการเข้าหัวแบบ RJ45 เพื่อใช้ในการเข้าถึงระบบเครือข่าย ในโน้ตบุคส่วนใหญ่ในปัจจุบันมักจะติดตั้งพอร์ต RJ45 มาไว้เป็นมาตรฐานอยู่แล้ว

vajira
พอร์ต RJ11 (Modem Port)
          เป็นพอร์ตที่มีลักษณะคล้ายกับพอร์ต RJ45 แต่จะมีขนาดเล็กกว่า เนื่องจากตัวพอร์ต RJ11 มีเพียง 4 ขา ขณะที่ พอร์ต RJ45 มีจำนวนขา 8 ขา สำหรับหน้าที่ของพอร์ต RJ11 นั้นไว้สำหรับเชื่อมต่อกับโมเด็มผ่านทางสายโทรศัพท์ที่มีการเข้าหัวแบบ RJ11 เช่นกัน

vajira
พอร์ต S-Video (TV-Out)
          เป็นพอร์ตที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับสาย S-Video เพื่อให้แสดงผลาพจากโน้ตบุ๊คไปปรากฏบนจอโทรทัศน์

vajira
พอร์ต RJB
สำหรับต่อเพื่อใช้ในการแสดงผลบนจอภาพภายนอกอื่นๆ ลักษณะการเชื่อมต่อจะเป็นแบบอนาล็อกสามารถต่อได้ทั้งจอแบบ CRT และ LCD

vajira
พอร์ต DVI
          เป็นพอร์ตที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่อกับจอ LCD หรือเครื่องโปรเจ็คเตอร์ที่อยู่ภายนอก โดยมีการรับส่งข้อมูลแบบดิจิตอล จึงทำให้ไม่ต้องมีการแปลงข้อมูลจากอนาล๊อกเป็นดิจิตอลอีกครั้ง ส่งผลให้คุณภาพของการแสดงผลที่ได้จะมีประสิทธิภาพที่ดีและรวดเร็ว สำหรับพอร์ต DVI จะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ แบบ DVI-I ที่รองรับทั้งสัญญาณแบบดิจิตอลและอนาล็อก และแบบ DVI-D ที่รองรับได้เพียงสัญญาณดิจิตอลเท่านั้น

vajira
พอร์ต IEEE1394 (Firewire)
          พอร์ต IEEE1394 หรือเรียกอีกอย่างว่า “Firewire” ในเครื่อง Mac หรือ “i.Link” ของ Sony เป็นพอร์ตที่ใช้สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆที่ต้องการความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูง เช่น กล้องวีดีโอ ดิจิตอล หรือไดร์ฟสำหรับบันทึกข้อมูลเป็นต้น โดยจะมีความเร็วถึง 400 Mbps แต่ ในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนามาตรฐานให้เป็น IEEE1394b ที่เพิ่มความเร็วการรับส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นถึง 800 Mbps

vajira
สล็อต PCMCIA
          ใช้สำหรับเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆของโน้ตบุ๊ค เช่น การ์ดโมเด็ม การ์ดเมมโมรี่หรือไดร์ฟต่างๆที่เป็นแบบติดตั้งภายนอก โดยจะมีลักษณะเป็นการ์ดหรือที่เรียกว่า PC Card การ์ด PCMCIA จะมีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ คือ Type I:  มีความหนาประมาณ 3 มม. ส่วนใหญ่จะใช้สำหรับการ์ดหน่วยความจำต่างๆ, Type II: มีความหนาประมาณ 5 มม. ส่วนใหญ่จะใช้กับการ์ดโมเด็ม การ์ดแลนและการ์ดเสียง, Type III: มีความหนาประมาณ 10.5 มม.  ส่วนใหญ่จะใช้กับฮาร์ดดิสก์ การ์ดตัดต่อหรือ การ์ด TV Tuner
vajira
สล็อต Expresscard
          เป็นการพัฒนาต่อมาจาก PC Card ซึ่งทำให้มีขนาดการ์ดขนาดเล็กลงและความรวดเร็วในการรับส่งข้อมูลเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังใช้พลังงานน้อยกว่า PC Card แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ Express/34 ขนาดความกว้าง 34 มม. และ Express/54 ขนาดความกว้าง 54 มม. การเชื่อมต่อกับสล็อต Expresscard นี้ส่วนใหญ่จะใช้กับ การ์ดโมเด็ม การ์ดทีวี​ ​กราฟฟิกการ์ดสำ​หรับโน้ตบุ๊กเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ​ใน​การเล่นเกม​ ​หรือ​อาจ​จะ​เป็น​การ์ดเสียง​ ซึ่งสล็อต Expresscard ถือเป็นมาตรฐานใหม่ของการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต้องการความรวดเร็วในการรับส่งในโน้ตบุ๊กรุ่นใหม่ๆที่กำลังจะออกมาในอนาคต

vajira
สล็อตอ่านการ์ดหน่วยความจำ (Card reader Slot)
          ช่องอ่านการ์ดหน่วยความจำมีหน้าที่อ่านและเขียนข้อมูลลงการ์ดหน่วยความจำชนิดต่างๆ แต่ละชนิดเช่น Memory Card, SD Card หรือ Compact Flash โน้ตบุ๊กรุ่นใหม่ๆส่วนใหญ่จะมีช่องอ่านการ์ดหน่วยความจำติดตั้งมาเป็นมาตรฐานแล้ว

vajira
ช่องสัญญาณอินฟราเรค (IrDA)
          ใช้สำหรับส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์อีกตัวหนึ่งโดยไม่ต้องใช้สายเคเบิ้ลในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ไร้สาย เช่น โทรศัพท์มือถือ เครื่องปาล์มหรือพ็อกเก็ตพีซี เป็นต้น ความเร็วในการรับส่งข้อมูลอยู่ที่ 4 Mbps แต่จะมีข้อจำกัดก็คืออุปกรณ์ทั้งสองต้องอยู่ห่างกันไม่เกิน 1 ฟุต และไม่สามารถรับส่งสัญญาณผ่านสิ่งกีกขวางได้




แบบทดสอบ

1.ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะของคอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊ก
ก. พกพาได้สะดวก                 ข. ราคาสูงกว่าพีซี
ค. ราคาถูกลง                       ง. สมรรถนะสูง

2. วัสดุประเภทใดที่ใช้ทำโน้ตบุ๊กแล้วส่งผลให้ตัวเครื่องแข็งแรงทนทาน
ก. พลาสติกเหนียว                ข. ลูมิเนียมอัลลอย
ค. แมกนีเซียมอัลลอย           ง. กำมะถัน

3. เครื่องโน้ตบุ๊กพร้อมอุปกรณ์มีน้ำหนักรวมประมาณกี่กิโลกรัม?
ก. 1                                        ข. 2
ค. 3                                         ง. 4
4. พอร์ต S-Vedio ทำหน้าที่ใด?
ก. เชื่อมต่อโทรทัศน์                              ข. เชื่อมต่อระหว่างการ์ดแลนด์กับระบบเครือข่าย
ค. เชื่อมต่อระบบฐานข้อมูลเพื่อนำข้อมูลมาใช้งาน  ง. เชื่อมต่อกับพอร์ต USB

5. Touchpad ใช้แทนอุปกรณ์ใด
ก. จอภาพ                              ข. ลำโพง
ค. คีย์บอร์ด                            ง. เมาส์

6. ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของซีพียูที่ใช้กับเครื่องโน้ตบุ๊ก
ก. ใช้พลังงานน้อย                 ข. ราคาแพง
ค. ต้องมีความเร็วสูง            ง. ใช้พลังงานมาก

7 .ซีพียูรุ่นแรก ใช้พลังงานต่ำ ต้องใช้พลังงานไฟฟ้ากี่วัตต์
ก.  5  วัตต์                                      ข. 10 วัตต์
ค. 15 วัตต์                                      ง. 21 วัตต์

8. อุปกรณ์คอมพิวเอตร์ประเภทใด ไม่สามารถต่อผ่านพอร์ต USB ได้
ก. จอภาพ   
ข. เมาส์
ค. เครื่องพิมพ์
ง. สแกนเนอร์
 
9. อุปกรณ์ใดที๋สามารถต่อใช้งานผ่านพอร์ต RJ45
 
 
 
10. พอร์ต IEEE โดยทั่วไปโน๊ตบุ๊กทั่วไปจะติดตั้ง พอร์ตนี้มีความเร็วประมาณเท่าไร
 
11. แบตที่นิยมใช้กับโน๊ตบุ๊คคือแบบใด
 
12. โน๊ตบุ๊คปัจจุบันไม่ได้ติดตั้งพอร์ตใดไว้
 
13. พอร์ต USB 2.0 มีความเร็วใการถ่ายโอนข้อมูลเท่าไร
 
14. CPU Pentium M รุ่น LV ใช้กำลังไฟฟ้ากี่วัตร์
 
15. โน๊ตบุีคที่มีขนาดเล็ก และบางเบานิยมใช้ CPU รุ่นใด